วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การจัดการไฟล์และโฟลเดอร์

การสร้างโฟลเดอร์
            เมื่อต้องการสร้างโฟลเดอร์ภายในดิสก์ สามารถทำได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้

- คลิกที่ตัวอักษรแทน Drive ที่ต้องการสร้างดิสก์ (ในกรณีที่ต้องการสร้างโฟลเดอร์ย่อยใน โฟลเดอร์อื่นๆ ให้คลิกที่ชื่อโฟลเดอร์ที่ต้องการสร้างโฟลเดอร์ย่อยภายใน)

- คลิกที่เมนู File และเลื่อนเมาส์มาบริเวณคำสั่ง New จะปรากฏเมนูย่อยขึ้นทางด้านขวาให้คลิกที่ คำสั่ง Folder ดังรูป



จะปรากฏโฟลเดอร์ชื่อ New Folder ที่หน้าต่าง View ให้พิมพ์ชื่อโฟลเดอร์ที่ต้องการ และกดปุ่ม Enter ดังรูป





การเปลี่ยนชื่อโฟลเดอร์
            หลังจากที่ได้ตั้งชื่อโฟลเดอร์เรียบร้อยแล้ว เราสามารถเปลี่ยนชื่อของโฟลเดอร์ในภายหลังได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้

- คลิกที่ชื่อของโฟลเดอร์ที่ต้องการเปลี่ยน 1 ครั้ง สังเกตว่าจะปรากฏแถบสีน้ำเงินขึ้น
- คลิกที่ชื่อของโฟลเดอร์ซ้ำอีก 1 ครั้ง
- พิมพ์ชื่อที่ต้องการเปลี่ยน
- กดปุ่ม Enter





   




            เมื่อต้องการเลือกโฟลเดอร์ในบานหน้าต่างซ้ายของ Windows Explorer ให้คลิกโฟลเดอร์นั้น การส่งแฟ้มหรือโฟลเดอร์ไปที่ดิสก์เป็นการคัดลอกแฟ้มหรือโฟลเดอร์นั้น แฟ้มหรือโฟลเดอร์ ต้นฉบับยังคงอยู่ในตำแหน่งดั้งเดิม



หากลบไฟล์ในไดร์ฟของวินโดวส์ วินโดวส์จะให้เรายืนยันการลบหากเราเลือก yes วินโดวส์จะนำไฟล์นั้นไปเก็บไว้ในส่วนของRecycle Bin เพื่อให้เรียกกลับคืนมาได้



หากลบไฟล์ในไดร์ฟอื่น วินโดวส์จะให้เรายืนยันการลบ หากเราเลือก yes ไฟล์นั้นจะถูกลบโดยไม่สามารถเรียกคืนได้

ระบบปฏิบัติการ Windows XP



 
หน้าตาของ Windows XP
            หน้าตาของ Windows XP มีชื่อเรียก ส่วนประกอบต่าง ๆ ดังนี้

1. เดสก์ท็อป ( Desktop )
       คือ พื้นที่หน้าจอเมื่อเริ่มต้นเข้าสู่โปรแกรมเปรียบเหมือนโต๊ะทำงานของเรา
2. ไอคอน ( icon )
       คือ สัญลักษณ์หรือรูปภาพที่ใช้แทนโปรแกรม ทำให้เราสามารถจดจำได้ง่าย
3. ถังขยะ ( Recycle )
       คือ โฟล์เดอร์ที่เก็บ ไฟล์ โฟล์เดอร์หรือข้อมูลต่างๆ ที่เราต้องการลบทิ้งแต่ถ้าอยากนำขึ้นมาใช้ใหม่ก็สามารถกู้คืนได้
4. ทาสก์บาร์ ( Taskbar )
       คือ แถบงาน เมื่อเราเข้าทำงานโปรแกรมต่าง ๆ ชื่อโปรแกรมเหล่านั้นก็จะไปแสดงที่ทาสก์บาร์ ขณะที่เข้ามาครั้งแรกยังไม่มีโปรแกรมใดเปิดใช้งานพื้นที่ทาสก?บาร์ก็จะว่าง ทาสก์บาร์ ยังสามารถ Lock ไว้ให้อยู่กับที่ได้หรือเคลื่อนย้ายไปตามมุมต่าง ๆของหน้าจอได้
5. ซิสเต็ม เทรย์ ( System Tray )
       ใช้บอกเวลา และ ใช้แสดงไอคอน หรือสถานะของโปรแกรมหรืออุปกรณ์
6. ทูลสทิป ( Toolstip)
       เมื่อเราเลื่อนเมาส์ไปที่ชื่อหรือไอคอนของโปรแกรมใดจะปรากฎกรอบสีเหลืองภายในจะมีข้อความสำหรับอธิบายโปรแกรมเรียกว่า ทูลสทิป ( Toolstip)
7. ปุ่ม สตาร์ท ( Start )
       คือ จุดเริ่มต้นของโปรแกรมต่าง ๆ เมื่อเราใช้เมาส์ไปคลิกที่ปุ่มสตาร์ท ( Start )จะปรากฎเมนูโปรแกรมต่างๆ ให้เราเลือกใช้ได้ ในกรณีที่เราต้องการที่จะใช้โปรแกรมใด ให้เอาเมาส์ไปคลิกที่ชื่อหรือรูปไอคอนหน้าชื่อโปรแกรมนั้นเพื่อเข้าใช้งาน
8. โปแกรมที่เรียกใช้งานบ่อย
       มีกจะแสดงแค่ 6 โปแกรม แต่เราสามารถกำหนดให้แสดงมากกว่าหรือน้อยกว่า 6 โปรแกรมได้
9. โปรแกรมทั้งหมด ( All Programs )
       เมื่อเราเลื่อนเมาส์มาที่ All Programs ก็จะปรากฎชื่อและไอคอนของโปรแกรมทั้งหมด ในกรณี ถ้าเราต้องการใช้โปรแกรมใด ให้คลิกที่ชื่อโปรแกรมนั้นเพื่อเข้าใช้งาน
การใช้งานโปรแกรม
            การเรียกใช้งานต่างๆ ที่อยู่ในเครื่อง ให้คลิกที่ปุ่ม Start แล้วเลื่อนเมาส์ไปที่ All Programs จะปรากฎโปรแกรมที่มีอยู่ในเครื่องดังภาพข้างล่าง


หน้าต่าง Windowns
1. ไตเติลบาร์ (Title bar) แสดงชื่อของโปรแกรมที่ใช้งานอยู่
2. เมนูบาร์ (Menu Bar) แสดงเมนูของโปรแกรมใช้ในการเลือกคำสั่ง
3. แถบเครื่องมือ (Toolbar) เป็นรูปภาพเล็ก ๆ แทนคำสั่งใช้งานต่าง ๆ
4. แถบตำแหน่ง (Addressbar) แสดงตำแหน่ง ณ ขณะนั้น
5. มินิไมซ์ (minimize) ปุ่มลดขนาดหน้าต่างหรือปิดหน้าต่าง
6. แมกซิไมซ์ (Maximize) ขยายหน้าต่างให้เต็มจอ
7. ปุ่มปิดโปแกรม (Close) ใช้ในการปิดโปรแกรม
8. ไอคอน (Icon) คือ รูปสัญลักษณ์ที่ใช้เรียกโปรแกรม
9. แถบเลื่อน (Scroll Bar) ใช้ในการเลื่อนหน้าจอไปซ้าย ขวา ขึ้นลงตามทิศทางลูกศร
10. แถบสถานะ (Status Bar) แสดงสถานะการทำงาน
 



การปรับแต่งหน้าตาของวินโดว์
            การปรับแต่งหนาตาของวินโดว์นั้นเราสามารถทำได้เหมือนกับวินโดวส์รุ่นก่อน ๆ คือปรับแต่ง Background color , Wall Paper เป็นต้น ซึ่งวิธีการปรับแต่งก็จะแตกต่างกันเล็กน้อย มีขั้นตอนดังนี้

การตั้งภาพวอลล์เปเปอร์

1. คลิกเมาส์ขวาที่ Desktop เลือก Properties
2. จะปรากฎหน้าต่าง Display Properties
3. คลิกที่แท็ป Desktop แล้วเลือกภาพที่ต้องการ
4. คลิกที่ปุ่ม OK หรือ Apply
5. ก็จะได้ภาพวอลล์เปเปอร์หรือพื้นหลังตามต้องการ



การเลือกใส่สีพื้นหลัง

1. คลิกเมาส์ขวาที่ Desktop เลือก Properties
2. จะปรากฎหน้าต่าง Display Properties
3. คลิกแท็ป Desktop เลือก ( None ) เพื่อไม่ใช้ Wall Paper
4. คลิกเลือกที่ color หรือคลิกที่ Other
5. จะปรากฎหน้าต่าง color เพื่อหาสีอื่น ๆ ที่ต้องการแล้วคลิกปุ่ม OK
6. เมื่อได้สีที่ต้องการแล้ว คลิกปุ่ม OK หรือ Apply
7. Background ก็จะเปลี่ยนไปไเป็นสีที่เราต้องการ



โปรแกรมระบบปฏิบัติการ

ความหมายโปรแกรมระบบปฏิบัติการ
            หมายถึงโปรแกรม ที่ทำหน้าที่ในการจัดการระบบ เพื่อติดต่อระหว่าง ฮาร์ดแวร์กับกับซอฟต์แวร์ ประเภทต่าง ๆ ให้สะดวกมากขึ้น เปรียบเสมือนเป็นตัวกลาง คอยจัดการระบบคอมพิวเตอร์ ระหว่างโปรแกรมกับฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ สอบ และค้นหา ไดรเวอร์ต่าง ๆ ได้เอง มีระบบการทำงานที่เรียกว่าPlug and Play และมีหน้าจอที่สวยงาม รองรับการใช้งาน ทางด้านอินเตอร์เน็ต และระบบมัลติมีเดีย ได้เป็นอย่างดีให้ทดลองเปิดเครื่อง จะเข้าสู่ระบบปฏิบัติการ Windows โดยอัตโนมัติ ปรากฏหน้าจอดังนี้
หน้าที่ของโปรแกรมระบบปฏิบัติการ
- เป็นตัวกลางเชื่อมโยงระหว่าง ผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เกิดความสะดวก ในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ โดยการจัดเตรียมโปรแกรมระบบปฏิบัติการ ใส่ไว้ในฮาร์ดดิสก์ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อกับผู้ใช้เช่น ระบบปฏิบัติการ DOS ติดต่อกับผู้ใช้ โดยให้พิมพ์คำสั่ง ที่เครื่องหมายพร้อมรอรับคำสั่ง (Prompt Singe) ส่วนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ติดต่อกับผู้ใช้โดยใช้ภาพกราฟิกส์ เป็นต้น

- ควบคุมการทำงานฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ เช่น ควบคุมการใช้ดิสก์ไดรฟ์ ฮาร์ดดิสก์ คีย์บอร์ด และจอภาพ เป็นต้น

- ทำงานร่วมกับโปรแกรมที่อยู่ในรอม เมื่อเริ่มบูตเครื่อง OS จะทำงานต่อจากโปรแกรมประเภท Firmware (ซอฟต์แวร์ ที่บริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ บันทึกไว้ในหน่วยความจำรอม เพื่อตรวจสอบความพร้อมของฮาร์ดแวร์ในระบบ) ที่จัดเก็บไว้ในรอม จะทำงานเมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ เรามักเรียกFirmware นี้ว่า BIOS (Basic Input Output System) โดย BIOS จะทำการตรวจสอบความพร้อม ระบบฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์ จากนั้นจึงส่งหน้าที่ให้แก่ OS เพื่อให้ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์

รูปที่ 2 :รูปแสดง Firmware ที่บันทึกไว้ในรอม


- จัดตารางการใช้ทรัพยากร การเข้าใช้หน่วยประมวลผลกลาง ของคำสั่งที่ผู้ใช้สั่งงาน เช่นกำหนดวิธีการจัดคิว (Queue) ของคำสั่ง เวลาที่ OS อนุญาตให้ใช้ซีพียู ของแต่ละคำสั่ง ทั้งนี้เพื่อให้หน่วยประมวลผลกลาง ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

- จัดการข้อมูลและสารสนเทศในหน่วยความจำ ได้แก่การนำข้อมูลไปวาง (Placement)ในหน่วยความจำ การแทนที่ข้อมูลในหน่วยความจำ (Replacement) การย้ายข้อมูลในหน่วยความจำ

- จัดการระบบการจัดเก็บไฟล์ข้อมูลลงบนสื่อสำรอง (Secondary Storage Unit)

- นำโปรแกรมประเภทอื่น เข้าประมวลผลในคอมพิวเตอร์ นอกจากประมวลผลแล้วยังคอยให้บริการ เมื่อโปรแกรมต่าง ๆ ต้องการใช้ทรัพยากรของระบบคอมพิวเตอร์ ได้แก่หน่วยความจำ ฮาร์ดดิสก์ ดิสก์ไดรฟ์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น

- จัดการด้านการรักษาความปลอดภัย

- จัดการเชื่อมต่อและควบคุมอุปกรณ์รอบข้างของคอมพิวเตอร์ ได้แก่ เครื่องสแกนเนอร์ การ์ดเสียง และ โมเด็ม เป็นต้น
คุณลักษณะโปรแกรมระบบปฏิบัติการ
            พิจารณาลักษณะของโปรแกรมระบบปฏิบัติการตามลักษณะต่าง ๆ ดังนี้

1. จำนวนงานที่ทำได้
2. จำนวนผู้ใช้
3. ประเภทคอมพิวเตอร์ที่ใช้ได้


1. จำนวนงานที่ทำได้
            ถ้ามีหลายโปรแกรมทำงานพร้อมกันได้ เรียกว่า Multi - Tasking OS แต่ถ้า OS ควบคุมให้โปรแกรม ทำงานได้ครั้งละ 1 โปรแกรมเท่านั้นเราเรียกว่า Single - Tasking OS

2. จำนวนผู้ใช้
            จำนวนผู้ใช้ OS สามารควบคุมการทำงานให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานพร้อม ๆ กันได้หลายเครื่องในระบบเครื่อข่ายที่มีให้ผู้ใช้หลายคน ถ้า OS สามารถจัดการระบบที่มีผู้ใช้หลาย ๆคน พร้อมกันได้ในระบบเรียกว่า Multi - Tasking แต่ถ้า OS สามารถจัดการระบบได้เพียงเครื่องเดียวหรือมี ผู้ใช้ระบบได้เพียงครั้งละ 1 คน เรียกว่า แต่ถ้า OS Single - Tasking OS

3. ประเภทคอมพิวเตอร์ที่ใช้ได้
            ประเภทของคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ Generic Operation System ( ระบบปฏิบัติการที่ใช้กับเครื่อง คอมพิวเตอร์ได้หลายประเภท ไม่ยึดติดกับเครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทใด ) กับอีกประเภทหนึ่งคือ Proprietary Operating System ( ระบบปฏิบัติการที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้กับคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่งระบบใดหรือยี่ห้อหนึ่งยี่ห้อใดเท่านั้น ) ตัวอย่างสร้างระบบ ปฏิบัติการขึ้มาเพื่อใช้กับไมโครโปรเซสเซอร์ประเภทเดียว ไม่สามารถนำไปใช้กับคอมพิวเตอร์ประเภทอื่น ๆ ได้ เช่น ระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่อง Macintosh และเครื่องในตระกูล Apple II ซึ่งใช้ซีพียู ยี่ห้อ Motorala ไม่สามารถนำระบบปฏิบัติการนี้มาใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ทั่ว ๆ ได้
ประเภทของโปรแกรมระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการดอส
            ระบบปฏิบัติการดอส (DOS : Disk Operating System) เป็นระบบปฏิบัติการ ที่ใช้กันแพร่หลาย ในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เริ่มมีใช้ครั้งแรกบนเครื่อง IBM PC ประมาณปี ค.ศ. 1981 เรียกว่าโปรแกรม PC-DOS ต่อมาบริษัทไมโครซอฟต์ได้สร้าง MS-DOS สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย มาจนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่รุ่น (Versions) 1.0 2.0 3.0 3.30 4.0 5.0 6.0 และ 6.22 ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ ทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการ MS-DOS อยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า ๆ ที่มีทรัพยากรของระบบน้อย เช่น มีฮาร์ดดิสก์ มีหน่วยความจำน้อย ซีพียูรุ่นเก่า ๆ เป็นต้น ตัวอย่างการใช้คำสั่งดอส โดยการพิมพ์คำสั่งที่เครื่องหมายพร้อมรับคำสั่ง ในลักษณะ Command Line ซึ่ง DOS ติดต่อกับผู้ใช้ด้วยการพิมพ์คำสั่ง ไม่มีภาพกราฟิกให้ใช้ เรียกว่าทำงานในโหมดตัวอักษร (TextMode)

รูปที่ 3 : แสดงการขอดูรายชื่อไฟล์ที่มีส่วนขยาย ini ในไดรฟ์ C:\windows


            ระบบปฏิบัติการ DOS มีข้อเสียคือ ติดต่อกับผู้ใช้ไม่สะดวก เพราะผู้ใช้ต้องจำ และพิมพ์คำสั่งให้ถูกต้อง โปรแกรมจึงจะทำงาน ดังนั้นประมาณปี ค.ศ. 1985 บริษัทไมโครซอฟต์ ได้พัฒนาซอฟต์แวร์ Microsoft Windows Version 1.0 และได้พัฒนาเรื่อยมาจนถึง Version Microsoft Windows 3.11 ในปีค.ศ. 1990 ซอฟต์แวร์ดังกล่าว ทำงานในสภาพแวดล้อม ที่เป็นกราฟิกเรียกว่า Graphic User Interface(GUI) ทำหน้าที่แทนดอส ทำให้เกิดความสะดวกแก่ผู้ใช้อย่างมาก ทำให้ Microsoft Windows 3.11 ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว ในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ คุณสมบัติเด่นของ Windows 3.11 คือทำงานในกราฟิกโหมด เป็น Multi-Tasking และ Generic OS แต่ยังคงทำงานในลักษณะ Single-User OS แต่ก็ยังคงต้องอาศัยระบบปฏิบัติการดอส ทำการบูตเครื่องเพื่อเริ่มต้นระบบก่อน

ระบบปฏิบัติการวินโดวส์95
            ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 95 พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์ และวางจำหน่ายในช่วงปลายปี 1995 เป็นซอฟต์แวร ์ ที่ใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ทั่ว ๆ ไป ที่มีคุณลักษณะฮาร์ดแวร ์และหน่วยความจำ สูงกว่าระบบปฏิบัติการดอส ต้องใช้ซีพียูที่มีความเร็ว ในการประมวลผลด้วย ตัวโปรแกรมต้องใช้พื้นที่ฮาร์ดดิสก์ประมาณ 40 MB มีรูปแบบการติดต่อกับผู้ใช้ (User Interface) เป็นภาพกราฟิก ทำให้ง่าย และสะดวกต่อการใช้งานยิ่งขึ้น (Friendly User Interface)

รูปที่ 4 : แสดงโปรแกรมระบบปฏิบัติการWindows95 บรรจุในแผ่นซีดี


            วินโดวส์ 95 ติดต่อกับผู้ใช้โดยใช้ภาพกราฟิก การใช้งานควบคุมโปรแกรม โดยใช้เมาส์เป็นส่วนใหญ่ ผู้ใช้ไม่ต้องจำคำสั่ง สะดวกต่อการใช้งานมาก นอกจากนั้นยังมี DOS Prompt ให้สามารถใช้คำสั่ง ที่จำเป็นของดอสในวินโดวส์ 95 ได้อีกด้วย ความสามารถของวินโดวส์ 95 คือเตรียมโปรแกรม สำหรับการควบคุม การเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอก ไว้จำนวนมาก สามารถตรวจสอบอุปกรณ์ ที่นำมาเชื่อมต่อใหม่ได้อย่างอัตโนมัติ ทำให้ผู้ใช้สะดวกอย่างมาก ในการติดตั้งอุปกรณ์ใหม่ เข้ากับคอมพิวเตอร์ การทำงานในลักษณะนี้เรียกว่า Pnp (Plug and Play) นอกจากนี้ยังมีความสามารถ จัดการในการเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบบจุดต่อจุด (Peer-to-Peer) เพื่อใช้ทรัพยากรของระบบเครือข่ายร่วมกัน

ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 98
            วินโดวส์ 98 เป็นระบบปฏิบัติการ ที่มีความสามารถสูง พัฒนาต่อเนื่องมาจาก วินโดวส์ 95 สามารถทำงานแบบหลายงาน (Multi-Tasking OS) มีผู้ใช้ในระบบเพียงคนเดียว แบบ Single- User OS ได้ อีกทั้งยังสามารถ นำไปใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ได้ทั่วไป เรียกว่าเป็นแบบ Generic Operating System การทำงานของวินโดวส์ 98 ติดต่อกับผู้ใช้แบบ Graphic User Interface (GUI) เช่นเดียวกับวินโดวส์ 95 แต่ปรับรูปแบบให้ดูสวยงาม อัตโนมัติยิ่งขึ้น มีความสามารถ ในการเชื่อมต่อ กับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้สะดวกยิ่งขึ้น มีโปรแกรมที่เป็นเครื่องมือ สำหรับการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต มาพร้อมคือโปรแกรม Internet Explore

รูปที่ 5 : แสดงโปรแกรมระบบปฏิบัติการ Windows 98 บรรจุในแผ่นซีดี


            ข้อด้อยของโปรแกรม ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 98 คือ ต้องการทรัพยากรของระบบ ได้แก่ หน่วยประมวลผล หน่วยความจำ ฮาร์ดดิสก์ อุปกรณ์มัลติมีเดียสูง คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพต่ำ ไม่สามารถติดตั้งวินโดวส์ 98 ได้ แต่มีข้อดีคือ ผู้ใช้สามารถใช้งานได้อย่างสะดวก มากกว่าวินโดวส์ 95 มีซอฟต์แวร์ประยุกต์ต่าง ๆ สนับสนุนทำงานบนระบบวินโดวส์ 98 เป็นจำนวนมาก รองรับการใช้งาน ด้านอินเทอร์เน็ตได้เป็นอย่างดี

ระบบปฏิบัติการ Windows ME
            Windows ME (Windows Millennium Edition) เป็นระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาจาก ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 95 และ98 ซึ่งออกแบบมาให้เหมาะสม กับผู้ใช้ตามบ้าน เป็นระบบปฏิบัติการที่ทันสมัย ฉลาด และเข้าใจผู้ใช้ มากกว่าวินโดวส์ 95 และวินโดวส์ 98 หน้าตาของ Windows ME จะมีรูปลักษณ์เหมือนวินโดวส์ 98 มาก แต่มันมีคุณลักษณะพิเศษ ที่เหนือกว่าเดิมมาก เช่นสามารถสร้างระบบเครือข่าย ภายในบ้านได้ นอกจากนี้ยังมีความสามารถ ด้านอินเทอร์เน็ต และมัลติมีเดีย มากกว่าวินโดวส์ 98 อีกด้วย

รูปที่ 6 : รูปแสดงโปรแกรมระบบปฏิบัติการ Windows Me


ระบบปฏิบัติการ Windows 2000
            Windows 2000 เป็นระบบปฏิบัติการ ที่เกิดขึ้นมาเพื่อตอบสนอง ระบบเครือข่าย และเป็น OS ที่สร้างขึ้นมาเป็น GUI ตั้งแต่ต้น ดังนั้นการนำ Application เดิม ๆ ที่เคยใช้กับระบบปฏิบัติการดอส หรือโปรแกรม ที่สั่งงานฮาร์ดแวร์โดยตรง มาใช้บนระบบปฏิบัติการ วินโดวส์2000 อาจไม่ยอมทำงานให้ แต่การทำงานระบบ Multi-Tasking และ Multi-User ใช้งานได้ดีกว่าตระกูล วินโดวส์ 95 และ 98 โดยทำการควบคุม ขบวนการทำงาน ของแต่ละโปรแกรมได้ดีขึ้น

ระบบปฏิบัติการ Windows XP
            WindowsXP เป็นระบบปฏิบัติการ ที่เริ่มวางตลาดในปี ค.ศ. 2001 โดยตั้งชื่อ ให้รับกับการเปลี่ยนแปลงล่าสุดว่า Microsoft Windows XP โดยคำว่า XP ย่อมาจาก experience แปลว่ามีประสบการณ์ โดยทางบริษัทผู้สร้าง กล่าวว่าการตั้งชื่อเช่นนี้ มีเหตุผลมาจากที่ต้องการสื่อให้เห็นถึงการ ได้รับประสบการณ์ใหม่ ๆ จากการใช้ Windows XP ทุก ๆ ประมาณ 2 ปี บริษัทไมโครซอฟต์ผู้ผลิตโปรแกรมวินโดวส์ จะวางตลาดวินโดวส์รุ่นใหม่ ๆ โดยได้ใส่เทคโนโลยีที่ทันสมัย และเปลี่ยนแปลง สิ่งที่เป็นข้อด้อยของวินโดวส์รุ่นเก่า เพราะฉะนั้น ผู้ที่ต้องการเทคโนโลยีใหม่ ๆ Windows XP มีจุดเด่นและความสามารถมากมาย ไม่ว่าจะเป็นระบบใช้งานที่ดูสวยงาม และง่ายกว่าวินโดวส์รุ่นเก่า ๆ มีระบบช่วยเหลือในการปรับแต่งมากมาย เช่นระบบติดตั้งฮาร์ดแวร์ ติดตั้งเครือข่าย และสร้างผู้ใช้ในเครือข่าย การสร้างแฟกซ์ด้วยคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมรุ่นใหม่ แถมมาให้หลายโปรแกรม เช่นโปรแกรมดูหนังฟังเพลง (Windows Media Player 8)และโปรแกรมท่องโลกอินเทอร์เน็ต (Internet Explorer 6) เหมาะสำหรับนักคอมพิวเตอร์มือใหม่ และผู้ใช้งานทั่วไปอย่างยิ่ง

รูปที่ 7 : แสดงระบบปฏิบัติการ Windows XP


            Windows XP มีให้เลือกใช้สองรุ่นคือ Windows XP Home Edition ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ใช้งานตามบ้าน ที่ไม่เชื่อมต่อกับเครือข่าย และอีกรุ่นคือ Windows Xp Professional Edition ซึ่งเหมาะกับผู้ใช้งานในองค์กร ตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ เนื่องจากสามารถเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายได้ดี คนที่ใช้วินโดวส์เวอร์ชั่น XP จะต้องใช้เครื่องที่มีทรัพยากรมาก เช่น ซีพียู เพนเทียม 300 MHz ขึ้นไป แรมไม่ต่ำกว่า 128 MB ฮาร์ดดิสก์เหลือกพื้นที่ว่างมากกว่า 1.5 GB เป็นต้น ระบบปฏิบัติการ Windows NT
            ระบบปฏิบัติการ Windows NT เป็นระบบปฏิบัติการ ที่มีความสามารถในการจัดการเครือข่าย ในระยะใกล้ (LAN : Local Area Network) โดยจัดการด้านการติดต่อสื่อสาร ระหว่างคอมพิวเตอร์ และการรักษาความปลอดภัยในเครือข่าย ได้เป็นอย่างดี ในระบบเครือข่ายจะมีผู้ใช้งานหลายคน วินโดวส ์NTจะทำการจัดทรัพยากรของระบบ ให้มีการใช้ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงการติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างคอมพิวเตอร์ด้วยกัน และรองรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ได้เป็นอย่างดี

รูปที่ 8 : แสดงระบบปฏิบัติการ Windows NT


ระบบปฏิบัติการปาล์ม
            ระบบปฏิบัติการปาล์ม (Palm OS) มีจุดกำเนิด บนเครื่องคอมพิวเตอร์มือถือ ที่มีความต้องการทรัพยากรต่ำ มีความสามารถไม่สูงมากนัก แต่มีความสะดวกในการใช้งาน คล่องตัว และสามารถติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องได้ มีโปรแกรมใช้งานแบบเบ็ดเสร็จในตัว รองรับการ Plug in Module ต่างๆได้พอสมควร

รูปที่ 9 : แสดงระบบปฏิบัติการ Palm


ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์
            ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (Unix) เป็นระบบปฏิบัติการ ที่เคยพัฒนาในห้องแล็บ Bell สร้างขึ้นเพื่อใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ และเมนเฟรม ใช้ในการควบคุมการทำงาน ของศูนย์คอมพิวเตอร์ ที่มีการเชื่อมลูกข่ายคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงเป็นจำนวนมาก ดังนั้นระบบยูนิกซ์ จึงมักใช้ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ และมีการเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ต่อมาได้มีการพัฒนา ให้สามารถนำยูนิกซ์ มาใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ได้ ปัจจุบันระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจากสองค่ายคือ AT&T และ BSD และคาดว่ายูนิกซ์ จะเป็นที่นิยมต่อไป

รูปที่ 10 : แสดงการใช้งานระบบปฏิบัติการ Unix


            ลักษณะการทำงาน ยูนิกซ์ ติดต่อกับผู้ใช้ได้ โดยการพิมพ์คำสั่งลงบนเครื่องหมาย Prompt Sign แต่ในปัจจุบัน สามารถจำลองจอภาพการทำงาน ของยูนิกซ์ ให้อยู่ในสภาพแวดล้อมของวินโดวส์ได้แล้ว ทำให้สามารถทำงาน ติดต่อกับผู้ใช้ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น คุณสมบัติพิเศษของยูนิกซ ์คือ เรื่องของการรักษาความปลอดภัย ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมทั้งมีความสามารถสูง ในด้านการติดต่อสื่อสารระยะไกล ระหว่างคอมพิวเตอร์ ทำให้ยูนิกซ์ ถูกนำมาใช้เป็นระบบปฏิบัติการ สำหรับเครือข่ายของโลกที่เรียกว่า อินเทอร์เน็ต ดังนั้นก่อนที่ผู้ใช้จะเข้าสู่ระบบยูนิกซ์ ได้จะต้องทำการพิมพ์ Login Name : หรือชื่อผู้ใช้ (User Name) และรหัสผ่าน (Password) เมื่อเข้าสู่ระบบ โดยผู้บริหารระบบจะเป็นผู้กำหนดให้ UserName และ Password แก่ผู้ใช้แต่ละคน เพื่อควบคุมการใช้งาน และการรักษาความปลอดภัย

ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์
            ลีนุกซ์ เป็นระบบปฏิบัติการ ที่มีความสามารถสูง ในการบริหารระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีลักษณะคล้ายการจำลองการทำงาน มาจากยูนิกซ์ แต่จะมีความยืดหยุ่นในการทำงานมากกว่า เพราะว่าลีนุกซ์เป็น ระบบปฏิบัติการ ประเภทแจกฟรี (Open Source) ผู้นำไปใช้งาน สามารถที่จะพัฒนา และปรับปรุงในส่วนที่เกิดปัญหา ระหว่างใช้งานได้ทันที อีกทั้งยังสามารถปรับให้เข้ากับฮาร์ดแวร์ที่ใช้ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพของระบบมากที่สุด และยังมีการเพิ่มสมรรถนะ (Update) ในทุก ๆ ส่วนของซอฟต์แวร์อยู่ตลอดเวลา มีบริษัทเอกชน และกลุ่มผู้สนใจร่วมมือกันพัฒนาแอปปลิเคชั่น ที่ใช้งานบนลีนุกซ์ เพื่อทำให้การทำงาน มีประสิทธิภาพมากที่สุด

รูปที่ 11 : แสดงระบบปฏิบัติการลีนุกซ์


            การสร้างเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรืออินเทอร์เน็ตเซิร์ฟเวอร์ สามารถใช้ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ ติดตั้งลงในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ที่ใช้งานกันทั่วไป สาเหตุเพราะว่าลีนุกซ์ ใช้ทรัพยากรน้อย และมีเสถียรภาพในการดูแลระบบได้ดี มีปัญหาระหว่างการใช้งานน้อย ถ้าผู้ดูแลระบบ สามารถที่จะควบคุมดูแลการทำงาน และมีการบำรุงรักษาตามหลักเกณฑ์ที่ถูกต้องได้

ระบบปฏิบัติการ Windows CE
            Windows CE เป็นระบบปฏิบัติการขนาดเล็กหรือรุ่นย่อส่วน สำหรับใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ที่สามารถพกพาได้ แต่ยังคงมีรูปร่างหน้าตาคล้ายวินโดวส์รุ่นใหญ่ ๆ เหมือนกัน เพื่อตอบสนองการใช้งานที่คุ้นเคยกับรุ่นใหญ่ จึงนิยมใช้ในเครือ Pocket PC ที่สามารถถ่ายโอนงาน จากเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ใช้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ได้ดีพอสมควร

ระบบปฏิบัติการ Mac
            Mac เป็นระบบปฏิบัติการ ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ตระกูล Macintosh ติดต่อกับผู้ใช้ด้วยระบบ Graphic User Interface ตั้งแต่เริ่มต้นสามารถทำงานกราฟิกได้ ในช่วงเวลาที่เครื่อง IBM PC ยังเป็นโหมดตัวอักษร ดังนั้นเครื่องตระกูลนี้ ยังเป็นที่นิยมในกลุ่มงานพิมพ์ ตามโรงพิมพ์ต่าง ๆ

ระบบปฏิบัติการ Firmware
            Firmware เป็นระบบปฏิบัติการ ที่ใช้กับฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์เฉพาะงาน โดยส่วนใหญ่มักจะทำเป็นเครื่องที่สำเร็จมาแล้ว เช่น Router Modem Printer Firmware จะถูกบรรจุอยู่ในหน่วยความจำประเภทรอม

รูปที่ 1 : แสดงโปรแกรมระบบปฏิบัติการ

หลักการทำงานคอมพิวเตอร์

หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
            การทำงานของคอมพิวเตอร์ เริ่มจากการป้อนข้อมูลเข้าทางหน่วยป้อนข้อมูล (Input Unit) ผ่านไปยังหน่วยประมวลผลข้อมูล (CPU : Central Processing Unit) โดยหน่วยประมวลผลข้อมูลกลาง จะทำงานร่วมกับหน่วยความจำ (Memory Unit) เมื่อได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ จะส่งข้อมูลออกไปยังหน่วย แสดงผล (Output Unit) ขบวนการทำงานสามารถเขียนเป็นแผนภาพ ได้ดังนี้ภาพเคลื่อนไหว เช่น ภาพคน สัตว์ สิ่งของ เป็นต้น
หลักการทำงานของอุปกรณ์ต่อพ่วง
            อุปกรณ์ต่อพ่วง คือ อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่นำมาต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์เพื่อทำให้เกิดประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น นำอุปกรณ์มาต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์เพื่อพิมพ์ข้อมูล เพื่อสแกนรูปภาพ เพื่อทำให้เกิดเสียงเพลง เพื่อควบคุมไฟวิ่ง เพื่อตั้งศูนย์ถ่วงล้อรถยนต์ เพื่อควบคุมเครื่องจักรกลในโรงงานต่าง ๆเป็นต้น หลักการทำงานของอุปกรณ์ต่อพ่วงแต่ละชนิด จะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับว่าจะให้อุปกรณ์ต่อพ่วงชนิดนั้นทำงานใด แต่อุปกรณ์ที่นำมาต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์จะต้องต่อสายเคเบิล หรือสายนำสัญญาณเข้ากับพอร์ตด้านหลังของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจจะเป็นพอร์ตขนานหรือพอร์ตอนุกรมก็แล้วแต่ที่จะกำหนด และโดยทั่วไปจะต้องมีโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่ใช้ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่อพ่วง เช่นต่อพ่วงเครื่องพิมพ์เข้ากับคอมพิวเตอร์ จะต้องติดตั้งไดรเวอร์เพื่อให้คอมพิวเตอร์รู้จักกับเครื่องพิมพ์ตัวนั้นหรือนำคอมพิวเตอร์ไปควบคุมไฟวิ่งจะต้องเขียนโปรแกรมควบคุม ไฟวิ่งติดตั้งลงในคอมพิวเตอร์ด้วย
อุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทเครื่องพิมพ์
            เครื่องพิมพ์ (Printer) เป็นอุปกรณ์ต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์เพื่อพิมพ์ข้อมูลออกทางกระดาษพิมพ์ โดยรับข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ ผ่านสายเคเบิลไปยังเครื่องพิมพ์ดังรูป

รูปที่ 2 : แสดงการเชื่อต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ากับคอมพิวเตอร์


            เมื่อต่อเชื่อมเครื่องพิมพ์เข้ากับ เครื่องคอมพิวเตอร์ได้แล้วให้ทำการติดตั้ง ไดรเวอร์ที่บริษัทให้มาพร้อมกับเครื่องพิมพ์ซึ่ง อาจจะเป็น แผ่นซีดีรอมหรือแผ่นดิสก์ โดยการใส่แผ่นซีดีรอมหรือแผ่นดิสก์เข้าไป ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมจะทำงานโดยอัตโนมัติ (Autorun) แล้วทำการติดตั้งตาม เมนูที่ปรากฏบนจอภาพ

รูปที่ 3 : แสดงไดรเวอร์ที่ติดตั้งเพื่อใหคอมพิวเตอร์รู้จักเครื่องพิมพ์
ประเภทของเครื่องพิมพ์
1. เครื่องพิมพ์ดอตเมตริก
2. เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก
3. เครื่องพิมพ์เลเซอร์

1. เครื่องพิมพ์ดอตเมตริก
            เครื่องพิมพ์ดอตเมตริก (Dot Matrix) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้หัวเข็มกระแทกลงไปบนผ้าหมึกเพื่อให้หมึกที่ จะพิมพ์ตัวอักษรไปปรากฏบนกระดาษพิมพ์ เวลาพิมพ์จะมีเสียงดังมาก ตัวเครื่องพิมพ์จะมีราคาแพงส่วนผ้าหมึกจะมีราคาถูก ปัจจุบันใช้ในงานพิมพ์เอกสารที่ต้องการสำเนาหลายชุด เช่นใบสั่งซื้อ บิลเงินสด ใบเสร็จรับเงินหรือใบส่งของ เป็นต้น

รูปที่ 4 : แสดงเครื่องพิมพ์ดอตเมตริก


            หัวพิมพ์จะประกอบด้วยเข็มโลหะเล่มเล็ก ๆ วางเรียงกันเป็นแถวจำนวน 9 เข็มหรือ 24 เข็มเข็มแต่ละเล่มจะรับสัญญาณ ควบคุมให้พุ่งผ่านผ้าหมึก (Ribon) ไปตกกระทบบนกระดาษซึ่งมีล้อยางรองรับอยู่ด้านหลังให้เรียงจุดเป็นตัวอักษรหรือภาพ โดยล้อยางจะทำหน้าที่เคลื่อนกระดาษให้เลื่อนบรรทัดในการพิมพ์ ความเร็วในการพิมพ์นับเป็นจำนวนตัวอักษรต่อวินาที เครื่องพิมพ์ที่มีความเร็วสูงสามารถเคลื่อนหัวพิมพ์ได้สองทิศทาง มีทั้งขนาดแคร่สั้นและแคร่ยาว สามารถพิมพ์ได้ทั้งสีและขาวดำ ถ้าเป็นการพิมพ์ประเภทสีจะใช้หลักการเคลื่อนผ้าหมึกสี (น้ำเงิน เขียว แดง ดำ) ผสมสีกัน

2. เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก
            เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Ink Jet Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่อาศัยหลักการพ่นหมึกออกมาบนกระดาษพิมพ์โดยมีหัวพิมพ์เคลื่อน ที่บนแกนโลหะ การทำงานของหัวพิมพ์ใช้วิธีการฉีดพ่นน้ำหมึกเป็นจุดขนาดเล็ก ๆ จากกลักน้ำหมึกให้เป็นตัวอักษรหรือรูปภาพ แทนลงบนกระดาษ ความละเอียดของการพิมพ์วัดเป็นจำนวนจุดต่อตารางนิ้ว ขนาดกระดาษที่ใช้มักเป็นขนาดA4(8.27 X 11.69 นิ้ว) หรือขนาดที่เล็กกว่า ความเร็วในการพิมพ์นับเป็นจำนวนหน้าต่อนาที การพิมพ์สีจะใช้หลักการพ่นหมึก3 สีคือ น้ำเงิน แดง และเหลือง ผสมกัน

รูปที่ 5 : แสดงเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก


            ข้อดีของเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกคือ มีความเร็วในการพิมพ์สูงกว่าแบบดอตเมตริก สามารถพิมพ์ตัวอักษรและภาพได้หลายแบบ มีคุณภาพสูง สามารถพิมพ์ได้ทั้งสีและขาวดำ แต่มีข้อเสียคือความคมชัดน้อยกว่าเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ ไม่สามารถพิมพ์กระดาษสำเนาหลายชั้นเหมือนกับเครื่องพิมพ์แบบดอตเมตริกได้ ไม่สามารถพิมพ์ลงบนกระดาษผิวมันและลื่นได้ เพราะหมึกอาจเลอะเปื้อนกระดาษหมึกของเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกจะมีราคาแพงมาก แต่ตัวเครื่องพิมพ์จะมีราคาถูก หมึกของเครื่องพิมพ์แบบนี้จะเก็บอยู่ในตลับหมึก เมื่อหมึกหมดก็เพียงแต่เปลี่ยนตลับหมึกอันใหม่ก็ใช้งานได้ทันที นอกจากการเปลี่ยนตลับหมึกแล้วยังสามารถเติมหมึกเองก็ได้สำหรับเครื่องบางยี่ห้อ

3. เครื่องพิมพ์เลเซอร์
            เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ (Laser Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ มีราคาแพงกว่าเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก มีคุณภาพในการพิมพ์สูงเหมาะกับงานพิมพ์ที่ต้องการความเร็วและตัวอักษรคมชัด มีหลักการทำงานคล้ายกับเครื่องถ่ายเอกสาร โดยจะทำการแปลงข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ให้เป็นรหัสแล้วใช้ลำแสงเลเซอร์ยิงเป็นรูปภาพต้นแบบลงบนแท่นพิมพ์ที่เป็นล้อยาง (Drum) แล้วทำการใช้ความร้อนดูดผงหมึกจากกลัก (Toner) เข้ามาติดกับล้อยางตามแบบพิมพ์ จากนั้นกระดาษจะถูกรีดด้วยล้อยาง ผ่านแม่พิมพ์ที่มีผงหมึกติดอยู่ทำให้เกิดเป็นตัวอักษรหรือภาพบนกระดาษ ความละเอียดของการพิมพ์วัดเป็นจำนวนจุดต่อตารางนิ้ว (Dot Per Inch : DPI) ขนาดกระดาษที่ใช้มักเป็นกระดาษขนาด A4 หรือขนาดที่เล็กกว่า ความเร็วในการพิมพ์ ความเร็วในการพิมพ์นับเป็นจำนวนหน้าต่อนาที

รูปที่ 6 : แสดงเครื่องพิมพ์เลเซอร์


            ข้อดีของเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์คือ มีความเร็วในการพิมพ์สูง พิมพ์ตัวอักษรและภาพได้หลายแบบ มีคุณภาพและความคมชัดมากกว่าเครื่องพิมพ์แบบดอตเมตริกและเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก แต่มีข้อเสียคือ ไม่สามารถพิมพ์กระดาษหลายชั้นที่ต้องการสำเนาได้ กลักผงหมึกมีราคาแพงมาก กระดาษที่ใช้ต้องมีคุณภาพดี การบำรุงรักษาค่อนข้างยุ่งยากเมื่อเทียบกับเครื่องพิมพ์แบบดอตเมตริก ปัจจุบันมีบางบริษัทนำเอาตลับหมึกใช้แล้วมาผลิตใช้ ใหม่อีกครั้งแล้วขายในราคาถูก ตลับหมึกประเภทนี้ควรจะระมัดระวังในการซื้อใช้ เพราะจุดนี้อาจจะเป็นเงื่อนไขให้ผู้ผลิต เครื่องพิมพ์ยกเลิกสัญญารับประกัน
อุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทเครื่องพลอตเตอร์
            พลอตเตอร์ (Plotter) เป็นอุปกรณ์แสดงผลต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์เพื่อวาดภาพ กราฟ วงจรลวดลายต่าง ๆ ลงบนกระดาษขนาดใหญ่ ๆ เหมาะกับงานด้านวาดภาพกราฟิก งานด้านการออกแบบที่ต้องการคุณภาพสูง

รูปที่ 7 : แสดงเครื่องพลอตเตอร์


            หลักการทำงาน พลอตเตอร์ประกอบด้วยปากการหมึกหลายสี จำนวน 1 - 6 แท่ง เคลื่อนที่บนแกนโลหะ ควบคุมการทำงานด้วยซอฟต์แวร์ ทำการวาดจุดเล็ก ๆ ให้เป็นเส้น ลวดลายหรือภาพลงบนกระดาษขนาดใหญ่ แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

1. Flatbed Plotter เป็นพลอตเตอร์ประเภทที่ใส่กระดาษวางไว้อยู่กับที่ แต่ส่วนเคลื่อนที่คือปากกา ซึ่งจะเคลื่อนที่ไปมาบนแกนโลหะเพื่อวาดลงบนกระดาษอีกทีหนึ่ง

รูปที่ 8 : แสดงเครื่องพลอตเตอร์แบบ Flat bed


2. Drum Plotter เป็นเครื่องพลอตเตอร์ที่มีล้อยางด้านล่าง ทำหน้าที่เคลื่อนกระดาษ ส่วนปากกาและหมึกจะอยู่ด้านบน เคลื่อนที่ไปทางด้านซ้ายและขวาเพื่อวาดรูปหรือวงจรตามต้องการ

รูปที่ 9 : แสดงเครื่องพลอตเตอร์แบบ Drum
อุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทลำโพง
            ลำโพง (Speaker) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับสัญญาณข้อมูลจากการ์ดเสียงที่เป็นสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นสัญญาณเสียง ลำโพงที่มา พร้อมกับคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่จะเป็นลำโพงขนาดเล็กที่มีคุณภาพไม่ดีนัก แต่เราสามารถหาซื้อลำโพง คุณภาพสูงมาเปลี่ยนได้เพื่อจะได้ฟังเพลงหรือเล่นเกมได้อรรถรสมากขึ้น

รูปที่ 10 : แสดงอุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทลำโพง
อุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทสแกนเนอร์
            สแกนเนอร์ (Scanner) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านภาพ และข้อความจากกระดาษ แล้วแปลงเป็นข้อมูลเพื่อป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยนำสายสแกนเนอร์ต่อเข้ากับพอร์ตขนานหรือพอร์ต USBของคอมพิวเตอร์ ขึ้นอยู่กับสแกนเนอร์แต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อ

รูปที่ 11 : แสดงการต่อพ่วงสายสแกนเนอร์เข้ากับคอมพิวเตอร์


            สแกนเนอร์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน มักจะเป็นสแกนเนอร์แบบแท่นเรียบ ( Flatbed Scanner) สแกนเนอร์แบบนี้ สามารถสแกนภาพบนกระดาษได้ครั้งละ 1 แผ่น โดยส่วนใหญ่สแกนเนอร์แบบนี้จะสแกนขนาดกระดาษได้กว้าง 8.5 นิ้ว ยาว 11 นิ้ว แต่สแกนเนอร์บางตัวอาจจะสแกนได้กว้างตั้งแต่8.5 นิ้วและยาวได้ถึง 14 นิ้ว เป็นสแกนเนอร์ที่มีคุณภาพและเป็นที่นิยมใช้งานกันมาก

รูปที่ 12 : แสดงสแกนเนอร์แบบแท่นเรียบ
อุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทเครื่องอ่านรหัสแท่ง
            เครื่องอ่านรหัสแท่ง (BarCode Reader) เป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ มีลักษณะคล้ายปากกาหรือลักษณะอื่น ๆ ทำหน้าที่อ่านรหัสข้อมูลที่ติดไว้บนสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ โดยทั่วไปมักนิยมใช้บริการขายสินค้า ณ จุดซื้อขาย (Point Of Sales Terminals) ของธุรกิจค้าปลีก ห้างสรรพสินค้า หรือการบริการยืมคืนหนังสือในห้องสมุดขนาดใหญ่ที่ต้องการ ความรวดเร็วในการกรอกรายละเอียดข้อมูลที่เป็นข้อความและตัวเลข

รูปที่ 13 : แสดงการเครื่องอ่านรหัสแท่งที่ใช้ในธุรกิจค้าปลีก


            BarCodes Reader ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการกรอกข้อมูลทางแป้นพิมพ์ที่มีรายละเอียดของตัวอักษรและตัวเลขจำนวนมาก หลักการทำงานจะใช้วิธีการยิงแสงเลเซอร์เพื่ออ่านแถบรหัสแท่งสีดำที่พิมพ์เรียงกันไว้ มีขนาด หนาบางแตกต่างกัน ติดอยู่บนสินค้าหรือผลิตภัณฑ์แล้วนำรหัสข้อมูลที่ได้ไปเปรียบเทียบกับรายละเอียดข้อมูล ที่จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูล (Database) แล้วนำข้อมูลไปแปลงเป็นรายละเอียดต่าง ๆ ที่จัดเก็บไว้ใน เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อนำไปประมวลผลต่อไป โดยที่การทำงานของBarCode Reader นั้นจะต้อง มีโปรแกรมควบคุมการทำงานด้วย

รูปที่ 14 : แสดงรหัสแท่งสีดำที่พิมพ์เรียงกันไว้


รูปที่ 15 : แสดงเครื่องอ่านรหัสแท่งแบบต่าง ๆ
อุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทสแกนเนอร์
            จอยสติก (Joystick) คืออุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นคันโยก มีปุ่มบังคับที่ด้ามคันโยก เพื่อควบคุมตำแหน่งบนจอภาพได้ทุกตำแหน่งและทุกทิศทาง มักใช้ควบคุมโปรแกรมประเภทเกม ที่เป็นภาพเคลื่อนไหว วิดีโอเกม หรือโปรแกรมประเภทการออกแบบทำให้ผู้ใช้สามารถควบคุมและใช้งาน โปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ง่ายและสะดวก เวลาใช้งานให้นำจอยสติกต่อพ่วงกับพอร์ตจอยสติกที่อยู่ในซึ่งอยู่ในส่วน ของการ์ดเสียงด้านหลังเครื่องคอมพิวเตอร์

รูปที่ 16 : แสดงอุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทจอยสติก
อุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทสแกนเนอร์
            กล้องดิจิตอล (Digital Camera) เป็นกล้องถ่ายภาพโดยไม่ใช้ฟิล์ม แต่จะเก็บข้อมูลเป็นไฟล์คอมพิวเตอร์แทนซึ่ง เราสามารถนำไฟล์ภาพมาประยุกต์ใช้ในงานต่าง ๆ ได้ การใช้งานจะต่อสายเคเบิลระหว่างกล้องดิจิตอลกับพอร์ตของ เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการสำเนาหรือโอนย้ายไฟล์ไปยังตัวเครื่องคอมพิวเตอร์

รูปที่ 17: แสดงอุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทกล้องดิจิตอล


            กล้องดิจิตอล โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีหน่วยความจำภายในตัวกล้องดิจิตอลเอง ซึ่งหน่วยความจำนี้สามารถเก็บภาพได้อย่างน้อย 20 ภาพ เมื่อถ่ายภาพจนเต็มหน่วยความจำก็ให้ย้ายไฟล์รูปภาพไป ไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วค่อยนำกล้องไปถ่ายภาพใหม่ได้อีกครั้ง

รูปที่ 18 : แสดงกล้องดิจิตอลประเภทที่มีหน่วยความจำภายในตัว
สื่อบันทึกข้อมูล
            สื่อบันทึกข้อมูลหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหน่วยความจำสำรอง มีหน้าที่ในการเก็บข้อมูล เพื่อนำมาเรียกใช้หรือแก้ไขในภายหลังได้ สื่อบันทึกข้อมูลที่ใช้กันอยู่มี หลายประเภทได้แก่ ฮาร์ดดิสก ์แผ่นดิสก์ ซีดีรอม ดีวีดีรอม ทัมร์ไดร์ฟหรือแฮนดรี้ไดร์ฟ เป็นต้น

ฮาร์ดดิสก์
            ฮาร์ดดิสก์คือสื่อบันทึกข้อมูล ที่มีความจุสูงและถูกติดตั้งไว้ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ โครงสร้างภายในฮาร์ดดิสก์ประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็กหลายแผ่นวางเรียงซ้อนกันบนแกนตั้ง มีมอเตอร์ทำหน้าที่หมุนแผ่นจานแม่เหล็กด้วยความเร็วสูง แต่ละแผ่นจะมีหัวอ่านเขียน ยึดติดกับก้านหัวอ่าน (Access Arm) ทำหน้าที่เขียนอ่านในแต่ละด้านของแผ่นจานแม่เหล็ก แผ่นดิสก์แต่ละแผ่นมีโครงสร้างคล้ายกับแผ่นดิสก์เก็ต คือแบ่งเป็น แทร็กและเซ็กเตอร์ แต่ละแทร็ก ที่อยู่ในตำแหน่งตรงกันของทุกแผ่นเราเรียกว่า Cylinder ลักษณะการเข้าถึงข้อมูลทำได้ทั้งแบบ Sequential Access และ แบบRandom Access

รูปที่ 19: แสดงโครงสร้างฮาร์ดดิสก์ภายนอกและภายใน


            การวัดประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสก์ จะพิจารณาจากเวลาเข้าถึงข้อมูล (Access Time) คือเวลาตั้งแต่เริ่มเข้าถึงตำแหน่งที่อยู่ของข้อมูล จนได้ปริมาณข้อมูลตามที่ต้องการ ต่อหนึ่งหน่วยเวลา โดยพิจารณาจากสิ่งต่อไปนี้คือ

- Seek Time คือเวลาที่หัวอ่านใช้ในการเคลื่อนที่ไปยังตำแหน่ง Track ที่ต้องการ ถ้าใช้เวลาน้อย แสดงว่าฮาร์ดดิสก์มีประสิทธิภาพสูงมาก

- Rotational Delay Time คือเวลาที่รอให้แผ่นดิสก์หมุนเคลื่อนที่ Sector ที่ต้องการมาตรงกับตำแหน่งของหัวอ่านเขียน ถ้าใช้เวลารอน้อยแสดงว่ามีประสิทธิภาพสูงมาก

- Data Tranfer Time คือเวลาที่ใช้ในการโอนถ่ายข้อมูลจากเซ็กเตอร์ของแผ่นดิสก์เข้าสู่หน่วยความจำ ยิ่งใช้เวลาน้อยแสดงว่ามีประสิทธิภาพสูง ซึ่งจะมีผลต่อปริมาณการโอนถ่ายข้อมูลต่อหนึ่งหน่วยเวลา (Tranfer Rate)

รูปที่ 20 : แสดงหัวอ่านเขียนของฮาร์ดดิสก์


ดิสก์เกต
            ดิสก์เกต (Diskette) หรือแผ่นฟลอบปี้ดิสก์ หรือแผ่นดิสก์ คือสื่อบันทึกข้อมูลที่มีลักษณะเนื้อแผ่นกลมบางทำมาจากพลาสติกไมล่าร์ หมุนอยู่ในพลาสติกห่อหุ้ม (Jacket) อีกชั้นหนึ่ง รหัสข้อมูล0 , 1 สร้างเป็นสัญญาณทางไฟฟ้าบนออกไซด์ของโลหะที่ฉาบไว้ บนแผ่นพลาสติกไมล่าร์ ต้องใช้ร่วมกับเครื่องขับแผ่นดิสก์ สามารถบันทึกและแสดงผลข้อมูลได้

รูปที่ 21 : แสดงรายละเอียดของแผ่นดิสก์ขนาดความจุ 1.44 MB


- metal shutter คือ แผ่นโลหะสำหรับเลื่อนเปิดปิดเพื่ออ่านเขียนข้อมูลภายในดิสก์
- data access area คือพื้นที่สำหรับอ่านเขียนข้อมูล
- hard plastic jacket คือพลาสติกแข็งห่อหุ้มแผ่นดิสก์ที่อยู่ภายใน
- label คือพื้นที่สำหรับติดแผ่นฉลากเพื่อแจ้งให้ทราบว่าเป็นแผ่นที่เก็บข้อมูลอะไร
- hub คือบริเวณหรือตำแหน่งที่เกี่ยวแผ่นดิสก์เมื่อใส่เข้าไปยังเครื่องขับดิสก์
- write-protect notch ตำแหน่งป้องกันการเขียนทับ สามารถเลื่อนเพื่อให้เขียนทับ
หรือไม่ก็ได้ บริเวณดังกล่าวจะมีสัญลักษณ์แสดงว่าปัจจุบันอยู่ในสภาวะใด

รูปที่ 22 : แสดงการใช้แผ่นดิสก์ร่วมกับเครื่องขับดิสก์


            โครงสร้างของเนื้อแผ่นดิสก์ มีการแบ่งโครงสร้างในการบันทึกข้อมูลเป็นวงกลมหลาย ๆ วงบนแผ่นดิสก์ เรียกว่า Track แต่ละ Track จะแบ่งออกเป็นส่วน ๆ แต่ละส่วนเรียกว่า Sector ในแต่ละSector สามารถบรรจุข้อมูลได้ 512 Byte และสามารถใช้บันทึกข้อมูลได้ทั้งด้านบนและด้านล่าง( 2 sides)แผ่นดิสก์แต่ละประเภทมีโครงสร้างจำนวน Track และจำนวน Sector ในแต่ละ Track ต่างกัน ทำให้แผ่นดิสก์มีขนาดความจุต่างกันด้วย

รูปที่ 23 : แสดง Track และ Sector ของแผ่นดิสก์


            แผ่นดิสก์ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะมีขนาด 3.5 นิ้ว มีความจุ 1.44 MB แบบ Double Side High Density แบ่งเป็นวงกลมได้ทั้งหมด 80 วง (คือ 80 Track) ภายใน 1 Track แบ่งออกเป็น 18 Sector แต่ละ Sector เก็บข้อมูลได้ 512 Byte จำนวน 2 หน้า เพราะฉะนั้นแผ่นดิสก์ 1 แผ่นจึงมีความจุเท่ากับ 1,474,560 Byte (80 X 18 X 512 X 2 ) หรือมีค่าเท่ากับ 1,440 KB (1,024 Byte = 1 KB)หรือมีค่าประมาณ 1.44 MB (1,024 KB = 1 MB)

            อดีของแผ่นดิสก์คือง่ายและสะดวกในการพกพา สามารถบันทึกข้อมูลได้หลายครั้ง การอ่านเขียนข้อมูลทำได้ทั้งแบบลำดับ (Sequential) และแบบสุ่ม (Random) ราคาถูก ใช้ได้กับคอมพิวเตอร์แบบ ไมโครคอมพิวเตอร์ทุกประเภท แต่มีข้อเสียคือต้องใช้งานอย่างระมัดระวัง ความจุน้อย อายุการใช้งานน้อย ถ้าหักงอ โดนความร้อน โดนสนามแม่เหล็ก โดนน้ำ จะทำให้แผ่นดิสก์เสียหายและใช้งานไม่ได้

ซีดีรอม
            ซีดีรอม (Compact Disk-Read Only Memory) เป็นสื่อบันทึกข้อมูลที่มีความจุสูง โครงสร้างเป็นแผ่นพลาสติกทรงกลมบาง ๆ ที่ฉาบด้วยโลหะ metalic หลักการทำงานจะใช้แสงเลเซอร์ (Laser) ฉายลงไปบนพื้นผิวของแผ่น ทำให้เกิดหลุมรหัสเป็น 0 และ 1 การอ่านข้อมูลก็ใช้แสงเลเซอร์กวาดไปบนพื้นผิวของแผ่นแล้วใช้แสงสะท้อนกลับที่ได้แปลงไปเป็นข้อมูลของคอมพิวเตอร์ ที่คอมพิวเตอร์สามารถอ่านเข้าใจได้

รูปที่ 24 : แสดงแผ่นซีดีรอม


            แผ่นซีดีรอมมีลักษณะเหมือนแผ่นซีดีเพลงทั่วไป มีความจุประมาณ 600 - 700 MB แล้วแต่บริษัทผู้ผลิต มีความยาวของการบันทึกข้อมูลได้ประมาณ 74 นาที อ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีรอมได้อย่างเดียวผู้ใช้ไม่สามารถลบหรือบันทึก ข้อมูลเพิ่มเติมได้ ข้อมูลจะถูกบันทึกมาจากบริษัทผู้ผลิตแล้ว ประโยชน์ของซีดีรอมคือ ใช้ในการเผยแพร่ซอฟต์แวร์ หรือ ข้อมูลที่มีขนาดความจุมากพอสมควรเก็บรักษาได้ง่ายกว่าแผ่นดิสก์ การนำแผ่นซีดีรอมไปใช้งานจะต้องใช้ร่วมกับอุปกรณ์อ่าน ข้อมูลที่เรียกว่าซีดีรอมไดร์ฟ มีลักษณะการเข้าถึงข้อมูลแบบ Random Access             ความเร็วของซีดีรอมไดร์ฟจะใช้หน่วยวัดเป็น จำนวนเท่า ของความเร็วการอ่านข้อมูลที่ 150Kb ต่อวินาที ซึ่งเป็นความเร็วของซีดีรอมไดร์ฟรุ่นแรก ๆ โดยจะใช้สัญลักษณ์ตัวอักษร “X” ต่อท้ายเพื่อบอกจำนวนเท่า สำหรับซีดีรอมที่จำหน่ายในปัจจุบันมีความเร็วอย่างน้อย 50 X

รูปที่ 25 :แสดงแผ่นซีดีรอมและซีดีรอมไดร์ฟ


            ซีดีรอมอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า WORM (Write Once Read Many ) มีลักษณะเช่นเดียวกับแผ่นซีดีรอมทั่วไป แต่ผู้ใช้สามารถบันทึกข้อมูลลงบนแผ่น WORM ได้ 1 ครั้ง โดยใช้ซีดีรอมไดร์ฟชนิดบันทึกได้ที่เรียกว่า CD-ROM Recordable แต่สามารถอ่านข้อมูลที่บันทึกไว้กี่ครั้งก็ได้ มีความจุประมาณ 650 MB มีลักษณะการเข้าถึงข้อมูลแบบ Random Access มีราคาแพงกว่าแผ่นซีดีรอมทั่วไป

รูปที่ 26 : แสดงแผ่นซีดีรอม WORM


            แผ่นซีดีรอมอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า Erasable Optical Disks มีลักษณะแนวคิดในการเขียนอ่านได้หลาย ๆ ครั้ง เหมือนกับแผ่นดิสก์แต่ใช้แสงเลเซอร์ในการทำงาน การใช้งานต้องใช้งานร่วมกับ Optical Disk Drive หรือที่เรียกว่า MO (Magneto-optical) หรือที่เรียกว่า CD-Writer ปัจจุบันนิยมซื้อหามาใช้กันมากเพราะมีราคาถูก และใช้งานแทนซีดีรอมทั่วไปได้ เพราะสามารถอ่านหรือเขียนแผ่นซีดีรอมได้ มีขายตามร้านขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั่วไป

รูปที่ 27 : แสดงแผ่นซีดีรอมที่สามารถอ่านและเขียนได้


ดีวีดีรอม
            ดีวีดีรอม (DVD-ROM) เป็นสื่อบันทึกข้อมูลที่มีความจุสูงมากกว่าซีดีรอม โครงสร้างของแผ่นเป็นแผ่นพลาสติกทรงกลมบาง ๆ ที่ฉาบด้วยโลหะ metalic ดีวีดีรอมสามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่า 4.7 GB ซึ่งเหมาะสำหรับการเก็บภาพยนตร์หรือไฟล์มัลติมีเดีย จำนวนมาก ภาพและเสียงของดีวีดีรอมจะมีความคมชัดมากกว่าซีดีรอม แต่แผ่นดีวีดีรอมจะต้องใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ ดีวีดีรอมไดร์ฟ อุปกรณ์ดีวีดีรอมไดร์ฟสามารถอ่านแผ่นได้ทุกประเภท            

รูปที่ 28 : แสดงแผ่นดีวีดีรอมที่ใช้ร่วมกับดีวีดีรอมไดร์ฟ


แฮนดี้ไดร์ฟ
            แฮนดี้ไดร์ฟ (Handy Drive) หรือทัมพ์ไดร์ฟ (Thum Drive) คือสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูลอีกชนิดหนึ่งที่ปัจจุบัน ได้รับความนิยมใช้กันมาก สื่อบันทึกข้อมูลชนิดนี้สามารถอ่านและเขียนข้อมูลได้เหมือนกับแผ่นดิสก์ และฮาร์ดดิสก์ แต่มีข้อดีตรงที่ว่าพกพาได้สะดวกขนาดเล็กกว่าแผ่นดิสก์ มีความจุมากกว่าแผ่นดิสก์หลายเท่า เช่น 128 , 256 , 512 MB , 1 GB , 2 GB พอร์ตที่ใช้เชื่อมต่อกับสื่อบันทึกข้อมูลชนิดนี้คือพอร์ต USB (Universal Serial Bus)

  

รูปที่ 1 : แสดงหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์