คอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการเบื้องต้น

องค์ประกอบคอมพิวเตอร์
            องค์ประกอบคอมพิวเตอร์ คืออุปรณ์คอมพิวเตอร์ที่นำมาประกอบกันแล้วจะได้คอมพิวเตอร์ที่สมบูรณ์ 1 เครื่อง ประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญหลานส่วนดังนี้

1.กล่องซีพียู
2.แป้นพิม์
3.เมาส์
4.จอภาพ
5.ลำโพง

1.กล่องซีพียู ( Case )
            เป็นองค์ประกอบคอมพิวเตอร์ที่สำคัญมากภายในบรรจุแผงเมนบอร์ด แหล่งจ่ายไฟและหน่วยความจำต่างๆ เช่น รอม แรม ฮาร์ดดิส ดิสก์ไดร์ฟและซีดีรอม เป็นต้น ที่เรียกว่า กล่องซีพียูเพราะ ภายในเครื่อง บริเวณแผงเมนบอร์ดเป็นที่ติดตั้งซีพียู ( CPU ) ซึ่งถือว่าเป็นมันสอมงของเครื่องคอมพิวเตอร์
2.แป้นพิมพ์ ( Keyboard )
            คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการพิมพ์ข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้หน่วย ประมวลผลข้อมูลกลาง ( CPU ) ทำการประมวล แป้นพิมพ์จัดเป็นอุปกรณ์ด้านหน่วยป้อนข้อมูล ( Input Unit ) ที่ทำหน้าที่ ในการป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์
3.เมาส์ ( Mouse )
            คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการคลิก ดับเบิลคลิก และเลื่อนตำแหน่งเพื่อสั่งงาน ให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ในกรณีที่ไม่สามารถสั่งงานทางแป้นพิมพ์ได้ เมาส์จัดเป็นอุปกรณ์ด้านหน่วยป้อนข้อมูลเช่นเดียวกับแป้นพิมพ์ แต่ใช้งานในลักษณะที่แตกต่างกัน
4.จอภาพ ( Monitor )
            คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลของซีพียู เพื่อทำให้ผู้ใช้มองเห็นผลลัพธ์และสามารถติต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ จอภาพจัดเป็นอุปกรณ์ด้านหน่วยแสดงผล ( Output Unit ) ทำหน้าที่ในการแสดงผลข้อมูล
5.ลำโพง ( Speaker )
            คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงสัญญาณไฟฟ้าเป็นสัญญาณเสียงและแสดง เสียงออกทางลำโพงทำให้ผู้ใช้ได้ยินสัญญาณเสียงในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เสียงเพลง และเสียงพูดต่าง ๆ ลำโพงจัดเป็นอุปกรณ์ ด้านหน่วยแสดงผล ( Output Unit ) ทำหน้าที่ในการแสดงผลข้อมูล

ระบบคอมพิวเตอร์ ( Computer System )

            ระบบคอมพิวเตอร์ ( Computer System ) คือ องค์ประกอบที่จะทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ถ้าขาดองค์ประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งแล้ว เครื่องคอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานได้ ระบบคอมพิวเตอร์นี้ประกอบไปด้วย องค์ประกอบหลักที่สำคัญ 4 ประการคือ

1.ฮาร์ดแวร์ ( Hardware )
            คือ อุปกรณ์หรือชิ้นส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีวงจรไฟฟ้าอยู่ภายในเป็นส่วนใหญ่ สามารถจับ ต้องได้ เช่น ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวซีพูยู จอภาพ เมาส์ แป้นพิมพ์ ลำโพง สแกนเนอร์ เครื่องพิมพ์ ฯลฯ เป็นต้น

รูปที่ 1 : แสดงอุปกรณ์ฮาร์เแวร์คอมพิวเตอร์


2.ซอฟต์แวร์ ( Software )
            คือ โปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ที่จะสั่ง และควบคุมให้ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ทำงาน เราไม่สามารถจับต้องซอฟต์แวร์ ได้โดยตรงเหมือนกับตัวฮาร์แวร์ เพราะซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมนี้จะถูกจัดเก็บอยู่ ในสื่อ ที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล ที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล เช่น แผ่นดิสก์ ฮาร์ดดิส ซีดีรอม ดีวีดีรอม แฮนดีไร์ฟ เป็นต้น ซอฟต์แวร์ที่มักติดตั้งไว้ในฮาร์ดดิสก์เพื่อทำงานทันทีที่เปิดเครื่องคือ ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ

รูปที่ 2 : แสดงสื่อที่ใช้ในการเก็บโปรแกรม


3.พีเพิลแวร์ ( Peopleware )
            คือ บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ พีเพิลแวร์หรือบุคคลากรด้านคอมพิวเตอร์นับว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด เพราะบุคคลกรจะเป็นผู้จัดการหรือผู้ดำเนินงานให้ระบบ คอมพิวเตอร์ดำเนินต่อไปได้

รูปที่ 3 : แสดงบุคลากรทางดานคอมพิวเตอร์


4.ข้อมูล ( Data)
            คือ รายละเอียดข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลสิ่งของ สถานที่หรือเหตุการณ์ใด ๆ ที่สนใจศึกษา และนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ การประมวลผลของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้อยู่ ในรูปแบบที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้

ประเภทคอมพิวเตอร์

1. แบ่งตามขนาด
2. แบ่งตามลักษณะข้อมูลที่ใช้
3. แบ่งตามวัตถุประสงค์การใช้

            1.แบ่งตามขนาด
            หมายถึง การแบ่งประเภทของคอมพิวเตอร์ตาวมความสามารถในการทำงานหรือประมวลผล ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ขนาดของหน่วยความจำภายในและหน่วยความจำสำรองภายนอกความสามารถทางด้านการ เชื่อมต่อเครือข่าย จำนวนอุปกรณืที่ต่อพ่วงและอาจรวมถึงลักษณะทางด้านกายภาพ ( Physical ) ของเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย สามารถแบ่งเป็น 4 ประเภท ดังนี้

1.ไมโครคอมพิวเตอร์ ( Microcomputer)
            หรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ( Personal Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีราคาต่ำที่สุด มีขนาดเล็กที่สุด ไมโครคอมพิวเตอร์ในอดีตมีความเร็วในการทำงานต่ำและมีหน่วยความจำน้อย แต่ในปัจจุบันมีความเร็วในการประมวลผลสูงมาก และมีหน่วยความจำมาก นอกจากนี้นังมีการผลิตเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์แบบกระเป๋าหิ้ว ( Notebook ) และได้มีการนำไปต่อเป็นระบบเครื่อข่ายเพื่อสามารถติดต่อเชื่อมโยงกันได้ง่ยและสะดวกมากขึ้น

รูปที่ 4 : แสดงเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์


2.มินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer)
            เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ มีความเร็วในการประมวลผลสูงมีหน่วยความจำและราคาสูงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ แต่ความสามารถต่ำกว่า เครื่องประเภทเมนเฟรม ส่วนมากจะนำมินิคอมพิวเตอร์ไปใช้เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง ( File Server ) ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

รูปที่ 5: แสดงเครื่องมินิคอมพิวเตอร์


3.เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer)
            เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ขนาดใหญ่กว่ามินิคอมมินิคอมพิวเตอร์ มีความเร็วในการประมวลผลสูงกว่าส่วนมากจะนำเฟรมตอมพิวเตอร์ ไปใช้เป็นเครื่อง คอมพิวเตอร์ศูนย์กลางของระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ ที่มีปริมาณข้อมูลมาก ต้องการประมวลผลข้อมูลด้วยความเร็วสูง

รูปที่ 6: แสดงเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์


4.ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer)
            เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่มีขนาดใหญ่กว่าเครื่องเมนเฟรมมีความเร็วในการประมวลผลสูงกว่าคอมพิวเตอร์ประเภทอื่นทั้งหมด มีราคาแพงที่สุด โดยทั่วไปสร้างขึ้นเพื่อใช้ในงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และงานวิจัยดานอาวุธทางทหาร งานวิจัยด้านยานอากาศ เครื่องประเภทนี้ต้องติดตั้งในห้องที่มีสภาพแวดล้อมพิเศษ

รูปที่ 7: แสดงเครื่องซุปเปอร์คอมพิวเตอร์


            2. แบ่งตามลักษณะข้อมูลที่ใช้
            หมายถึง การแบ่งประเภท ของคอมพิวเตอร์ตามลักษณะของข้อมูลที่รับเข้าสู่ระบบการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ

1.อนาลอกคอมพิวเตอร์( Analog Computer )
            เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถรับข้อมูลประเภท ที่เป็นหน่วยวัดแบบต่อเนื่องที่ได้มาจากเครื่องวัดประเภทต่าง ๆ เช่น ความดังของเสียง ความเร็วของรถยนนต์ ความกดอากาศ อุณหภูมิ ข้อมูลที่ได้มาจากการวัดแบบต่อเนื่องนี้ เรียกว่า ข้อมูลแบบ อนาลอก อนาลอกคอมพิวเตอร์เป็นคอมพิวเตอร์ที่ต่อเชื่อมกับอุปกรณ์เครื่องมือวัดประเภทต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ทางด้านการแพทย์ คอมพิวเตอร์ควบคุมเครื่องจักร คอมพิวเตอร์ควบคุมความเร็ว คอมพิวเตอร์ควบคุมอุปกรณ์ทางด้าวิทยาศาสตร์ เป็นต้น

รูปที่ 8 : แสดงการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แบบอนาลอก


2.ดิจิตอลคอมพิวเตอร์ ( Digital Computer )
            เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถรับข้อมูลประเภท ที่เป็นหน่วยนับซึ่งสามารถจำแนกได้ เช่น ตัวเลขทางดานธุรกิจ การเงิน ภาษี รายรับรายจ่ายต่าง ๆ เป็นต้น ข้อมูลที่ได้จากการนับนี้เรียกว่า ข้อมูลแบบดิจิตอล ( Digital ) คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ได้แก่เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถรับข้อมูลและประมวลผล เป็นระบบเลขฐานสองคือ 0 และ 1 นั่งเอง

รูปที่ 9 : แสดงเครื่องคอมพิวเตอร์แบบดิจิตอล


3.ไฮบริดคอมพิวเตอร์ ( Hybrid Computer )
            คือ คอมพิวเตอร์ที่มีคุณสมบัติรับข้อมูลที่เป็นทั้งแบบดิจิตอลและอนาลอก เข้าสู่ระบบประมวลผลได้โดยการนำคุณสมบัติที่ดีของคอมพิวเตอร์ทั้งสองแบบมาสร้างเป็นไฮบริดคอมพิวเตอร์

รูปที่ 10 : แสดงเครื่องคอมพิวเตอร์แบบไฮบริดคอมพิวเตอร์สำหรับสร้างสถานณ์จำลองฝึกบิน


            3. แบ่งตามวัตถุประสงค์การใช้
            หมายถึง การแบ่งประเภทคอมพิวเตอร์ ตามวัตถุประสงค์ที่ สร้างขึ้นมา และการนำไปประยุกต์ใช้งาน สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ

1. คอมพิวเตอร์อเนกประสงค์ ( General-purpose computer )
            คือ คอมพิวเตอร์ที่ออกแบบและ สร้างมาเพื่อประยุกต์ใช้งานได้หลาย ๆ ด้าน เช่น งานด้านธุรกิจ ด้านออกแบบ งานคอมพิวเตอร์กราฟิก งานด้านสถิติ ด้านการศึกษา ด้านวงกานบันเทิง ด้านการติดต่อสื่อสารทางอินเตอร์เน็ต เป็นต้น ซึ่งสามารถใช้งานได้หลายอย่าง คอมพิวเตอร์ประเภทนี้จึงมีคุณสมบัติคล้าย กับคอมพิวเตอร์ไฮบริดและไมโครคอมพิวเตอร์นั่งเอง

2. คอมพิวเตอร์เฉพาะวัตถุประสงค์ ( Special purpose computer )
            คือ คอมพิวเตอร์ที่ออกแบบและ สร้างมาเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะด้านเท่านั้น หน่วยประมวลผลกลางถูกออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อทำการประมวลผลในด้านนั้น ๆ อย่างมีประสิทธิภาพสสูงสุด ไม่สามารถรำคอมพิวเตอร์ประเภทนี้มาใช้ในงานทั่ว ๆ ไปได้ เช่น คอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นเพื่อควบคุมอุปกรณ์ ทางการแพทย์ คอมพิวเตอร์ควบคุมหุ่นยนต์ คอมพิวเตอรควบคุมยานอวกาศ คอมพิวเตอร์ควบคุมดาวเทียม เป็นต้น
ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์

            ฮาร์แวร์คืออุปกรณ์และชิ้นส่วนของคอมพิเวตอร์ที่มีวงจรไฟฟ้าอยู่ภายในเป็นส่วนใหญ่และสามารถจับต้องได้ ดังตัวอย่าง เช่น ซีพียู เมาส์ คีย์บอร์ด สแกนเนอร์ เครื่องพิมพ์ ลำโพง แผงเมนบอร์ด ฮาร์ดดิส ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม ดีวีดีรอมเป็นต้น

1. หน่วยประมวลผลกลาง ( CPU)
2. หน่วยป้อนข้อมูล ( Input Unit)
3. หน่วยแสดงผล ( Output Unit )
4. หน่วยความจำ ( Memory Unit )
5. หน่วนความจำสำรอง ( Storage Unit )
6. แผวงจรหลัก ( Mainboard )

1. หน่วยประมวลผลกลาง ( CPU)
            หน่วยประมวลผลกลาง ( CPU : Central Processing Unit ) หรือมักจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าไมโครโปรเซสเซอร์มหน้าที่ในการประมวล ผลข้อมูลในลักษณะของการคำนวณและเปรียบเทียบ โดยจะทำงานตามจังหวะเวลาที่แน่นอน เรียกว่าสัญญาณ Clock เมื่อมี การเคาะจังหวะหนึ่งครั้งก็จะเกิดกิจกรรม 1 ครั้ง เราเรียกหน่วยที่ใช้ในการวัดความเร็วของซีพียูว่า " เฮิร์ท" ( Hertz ) หมายถึง การทำงานได้กี่ครั้งในจำนวน 1 วินาที เช่น ซีพียู Pentium4 มีความเร็ว 2.5 GHz หมายถึงทำงานเร็ว 2,500 ล้านครั้ง ในหนึ่งวินาที กรณีที่สัญญาณ Clock เร็วก็จะทำให้คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นมีความเร็วสูงตามไปด้วยซีพียูที่ทำงานเร็วมากราคาก็จะแพงมากตามไปด้วย การเลือกซื้อจะต้องเลือกซื้อให้เหมาะสมกับงานที่ต้องนำไปใช้ เช่น ต้องการนำไปใช้งานกราฟิกที่มีการประมวลผลมาก จำเป็น ที่จะต้องใช้เครื่องที่มีการประมวลผลได้เร็ว ส่วนการพิมพ์รายงานทั่วไปใช้เครื่องที่ความเร็ว 100 MHz ก็เพียงพอแล้ว
ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์

            ซอฟต์แวร์ คือ โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่สั่งให้ฮาร์แวร์ทำงานรวมไปถึงการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์แวดล้อมต่าง ๆ เช่น ฮาร์ดิสก์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม การ์ดอินเตอร์เฟสต่างๆ เป็นต้น ซอฟต์แวร์เป็นสิ่งที่มองไม่เห็นจับต้องไม่ได้ แต่รับรู้การ ทำงานของมันได้ ซึ่งต่งกับ ฮาร์แวร์ ( Hardware ) ที่สามารถจับต้องได้ ซอฟต์แวร์เป็นศัพท์ที่มีความหมายกว่างขวางมาก บางครั้งอาจรวมถึง ผลลัพธ์ต่างๆ เช่น ผลการพิมพ์ที่ได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์ เอกสารการพัฒนาซอฟต์แวร์ ตลอดจนคู่มือการใช้ในการสั่งงานใด ๆ

รูปที่ 11 : แสดงหน่วยประมวลผลกลาง ( CPU )


2. หน่วยป้อนข้อมูล ( Input Unit)
            หน่วยป้อนข้อมูล ( Input Unit) ทำหน้าที่ในการป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการป้อน ข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ ได้แก่ แป้นพิมพ์ สำหรับพิมพ์ตัวอักษรและอักขระต่าง ๆ เมาส์สำหรับคลิกสั่งงานโปรแกรม สแกนเนอร์สำหรับสแกนรูปภาพ จอยสติ๊กสำหรับเล่นเกมส์ ไมโครโฟน สำหรับพูดอัดเสียง และกล้องดิจิตอลสำหรับถ่ายภาพและนำเข้า ไปเก็บไว้ในดิสก์ของเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อนำไปใช้งานต่อไป

  
รูปที่ 12 : แสดงอุปกรณ์หน่วยป้อนข้อมูล


3. หน่วยแสดงผล ( Onput Unit)
            หน่วยแสดงผล ( Onput Unit) ทำหน้าที่ในการแสดงผลข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลในรูปของข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หรือ เสียง เป็นต้น อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการแสดงผลได้แก่ จอภาพ ( Nonitor ) สำหรับแสดงตัวอักษรและรูปภาพ เครื่องพิมพ์ ( Pinter ) สำหรับพิมพ์ข้อมูลที่อยู่ในเครื่องออกทางกระดาษพิมพ์ ลำโพลง ( Speaker ) แสดงเสียงเพลงและคำพูด เป็นต้น

  
รูปที่ 13 : แสดงอุปกรณ์หน่วยแสดงผล


4. หน่วยความจำ ( Memory Unit)
            หน่วยความจำ ( Memory Unit) มีหน้าที่ในการจำข้อมูลให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ มีอยู่ 2 ชนิดคือ หน่วยความจำถาวร ( ROM : Read Only Memorry ) เป็นหน่วยความจำที่สามารถจำข้อมูลได้ตลอดเวลา ส่วนหน่วยความจำอีกประเภทหนึ่งคือหน่วยความจำชั่วคราว ( RAM : Random Access Memory ) หน่วยความจำประเภทนี้จะจำข้อมูลได้เฉพาะช่วงที่มีการเปิดไฟเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น หน่วยความจำชั่วคราวถือว่าเป็นหน่วยความจำหลัก ภายในเครื่องสามารถซื้อมาติดตั้งเพิ่มเติมได้ เรียกกันโดยทั่วไปคือหน่วยความจำแรม ที่ใช้ในปัจจุบันคือ แรมแบบ SDRAM, RDRAM เป็นต้น

รูปที่ 14 : แสดงหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์


5. หน่วนความจำสำรอง ( Storage Unit )
            หน่วยความจำสำรอง คืออุปรณ์ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลไว้ใช้ในโอกาสต่อไป เนื่องจากกน่วยความจำแรมจำข้อมูลได้เฉพาะช่วงเวลาที่มี การเปิดไฟเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น ถ้าต้องการเก็บข้อมูลไว้ใช้ในโอกาสต่อไปจะต้องบันทึกข้อมูลลงในหน่วยความจำสำรอง ซึ่งหน่วยความจำสำรองมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน แต่มีนิยมใช้กันโดยทั่วไปคือ ฮาร์ดดิสก์ ดิสก์ไดร์ฟ ดีวีดีรอม ซีดีรอม ทัมท์ไดร์ฟ

รูปที่ 15 : แสดงหน่วยความจำสำรอง


6. แผวงจรหลัก ( Mainboard )
            แผงวงจรหลักหรือนิยมเรียกว่าแผงเมนบอร์ดคือแผงวงจรที่ติดตั้งภายในเคสของคอมพิวเตอร์ แผงเมนบอร์ดเป็นที่ติดตั้งอุปกรณ์ และอิเล็กทรอนิกส์ให้เชื่อมต่อถึงกัน เป็นที่ติดตั้งซีพียูหน่วยความจำรอม หน่วยความจำแรม การ์ดอินเตอร์เฟสต่าง และพอร์ตเชื่อต่ออกไปภายนอกแผงวงจรนี้เป๋นแผงวงจรหลักที่เชื่อมโยงไปยังหน่วยป้อนข้อมูลและหน่วยแสดงผล

รูปที่ 16 : แสดงแผวงจรหลัก ( Mainboard )
รูปที่ 17 : แสดงซอฟต์แวร์ระบบที่บรรจุในแผ่นซีดีรอม


1.ซอฟต์แวร์ระบบ ( System Software)
            คือโปรแกรมที่ใช้ในการควบคุมระบบการ ทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด เช่น การบูตเครื่อง การทำสำเนาข้อมูล การจัดการระบบของดิสก์ ชุดคำสั่งที่เขียนเป็นคำสั่ง สำเร็จรูปโดยผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ และมีมาพร้อมแล้วจากโรงงานผลิตการทำงานหรือการประมวลของซอฟต์แวร์เหล่านี้ขึ้น กับเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องระบบซอฟต์แวร์เหล่านี้ออกแบบมาเพื่อการปฏิบัติควบคุม และมีความสามารถในการยืดหยุ่น การประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์

2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ( Application Software)
            เป็นซอฟต์แวร์ที่ถูกจัดทำขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะด้านหรือเฉพาะองค์กรใดองค์กรหนึ่ง ซอฟต์แวร์ประเภทนี้มักสร้างขึ้นโดยบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ที่มีความชำนาญด้านนั้น ๆ โดยเฉพาะ หรือออกแบบและสร้างโดยบุคคลากร ในฝ่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กรก็ได้ ต้องมีทีมงานในการดำเนินการวิเคราะห์และออกแบบระบบงานอย่างรอบคอบ เมื่อ ออกแบบระบบงานใหม่ได้แล้ว จึงลงสร้างโปรแกรมจนเสร็จ แล้วทำการทดสอบโปรแกรมให้สามารถทำงานได้ถูกต้องแน่นอน จนสามารถทำงานได้จริง ตัวอย่างซอฟต์แวร์ประเภทนี้ได้แก่ซอฟต์แวร์ด้านงานบุคลากร ซอฟต์แวร์ระบบสินค้าคงคลัง ซอฟต์แวร์ของการรถไฟ ซอฟต์แวร์ของธุรกิจธนาคาร ซอฟต์แวร์ของธุรกิจประกันภัย ซอฟต์แวร์ของการบริการบินไทย ซอฟต์แวร์บริหารการศึกษา เป็นต้น

3.โปรแกรมสำเร็จรูป ( Package Software )
            คือ ซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ใน สำนักงานทั่ว ๆไป สร้างโดยบริษัทที่มีความชำนาญในด้านนั้น ๆ โดยเฉพาะ มีการปรับปรุงรุ่น ( Version ) ของซอฟต์แวร์ให้มีประสิทธิภาพ สูงขึ้นอยู่เสมอ
บุคลากรคอมพิวเตอร์
            บุคลากรคอมพิวเตอร์ ( Peopleware ) หมายถึงบุคคลที่ทำงานเกี่ยวข้องกับระบบงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ในทุก ๆ ด้าน บุคลากรนับว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด เพราะจะเป็นผู้จัดการหรือผู้ดำเนินงานให้ระบบคอมพิวเตอร์ดำเนินต่อไปได้ ถึงแม้จะมีฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และข้อมูลพร้อมแล้วแต่ไม่มีบุคลากรดำเนินงานต่อ คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถดำเนินการเองได้ เราสามารถแบ่งกลุ่มบุคลากรเป็นกลุ่ม ๆ ตามหน้าที่การทำงานได้ดังต่อไปนี้

1. นักวิเคระห์ระบบงาน ( System Analysis:SA )
            คือ บุคลากรที่ทำหน้าที่ในการติดต่อประสานงานกับผู้ใช้โปรแกรม ผู้จัดการองค์กรและโปรแกรมเมอร์ ทำการศึกษาวิเคราะห์ระบบงานเดิม ออกแบบระบบงานใหม่ ติดตั้งระบบงานใหม่ รวมทั้งประเมินผลระบบงาน นักวิเคระห์ระบบต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถมากกว่าโปรแกรมเมอร์ จบการศึกษาสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาเทคโนโลยีสาขาสนเทศ สาขาบริหารธุรกิจ สาขาคณิจศาสตร์ ศึกษาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีใหม่อย่างสม่ำเสมอ
            ปัจจุบันยังขาดแคลนนักวิเคราะห์ระบบงานที่มีความรู้ความชำนาญ เพราะนักวิเคราะห์ระบบส่วนใหญ่ต้องอาศัยประสบการณ์ สูง เช่น ฝ่ายการเงินต้องการนำคอมพิวเตอร์มาคิดคำนวณเรื่องรายรับรายจ่ายของบริษัท นักวิเคราะห์ระบบก็ต้อง ศึกษาในเรื่องของการเงิน ขั้นตอนการทำงานของฝ่ายการเงิน กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเงิน เมื่อศึกษารายละเอียดข้อมูลำด้ตาม ที่ต้องการแล้วนักวิเคราะห์ระบบจึงดำเนินการออกแบบระบบใหม่ที่ใช้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลด้านการเงินต่อไป

2. โปรแกรมเมอร์ ( Programmer )
            คือ บุคลากรที่ทำหน้าที่นำระบบงานใหม่ที่นักวิเคราะห์ระบบได้ออกแบบไว้มาสร้างด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ ภาษาใดภาษาหนึ่ง โดยทำการเลือกภาษาคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับระบบงานนั้น ๆ ต้องมีความรู้ในเรื่องการใช้ภาษา คอมพิวเตอร์ แนวคิดแบบตรรกะ ( Logic ) ของโปรแกรม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเอกสารที่ได้จากการออกแบบระบบ เทคนิคการออกแบบระบบงาน ทำงานร่วมกันเป็นทีม ต้องมีความรู้ระดับอนุปริญญาหรือปริญญาตรี สาขาที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ เช่น วิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น

3. วิศวกรระบบ ( System Engineer)
            คือ บุคลากรที่ทำหน้าที่ออกแบบ สร้าง ซ่อม บำรุง และดูแลรักษาฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ ต้องมีความรู้เกี่ยวกับ โครงสร้างของฮาร์แวร์ หลักการทำงานของฮาร์แวร์ สามารถออกแบบและติดตั้งฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ได้ มีความรู้ในระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่าในสาขาวิชาชีพ ช่างอิเล็กทรอนิสก์ และวิศกรรมคอมพิวเตอร์หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

4. ผู้บริหารระบบงาน ( Adiministrator )
            คือ ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารระบบงานหรือองค์กรทางด้านคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็นกลุ่ม ๆ ดังนี้
- ผู้บริหารศูนย์คอมพิวเตอร์ ( Computer Center Administrator ) คือบุคลากรที่ทำหน้าที่บริหารศูนย์หรือองค์กรทางด้านคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะ มีหน้าที่ในการกำหนดเป้าหมายนโยบาย และวางแผนการบริหารเพื่อให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย ภายในศูนย์คอมพิวเตอร์อาจมีการกำหนดให้มีบุคลากรที่ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารระดับรองลงไปในฝ่ายต่าง ๆได้ เช่นฝ่ายวิเคราะห์และออกแบบระบบ ฝ่ายบริหารฐานข้อมูล ฝ่ายสารสนเทศ ฝ่ายปฏิบัติการ เป้นต้น
- ผู้บริหารฐานข้อมูล ( Database Administrator : DBA ) คือบุคลากรที่ทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและวางแผนการบริหาร การจัดการฐานข้อมูลและการดูแลรักษาฐานข้อมูลขององค์กร รวมทั้งการเลือกระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เพื่อใช้ในการจัดการระบบ ฐานข้อมูลขององค์กร ส่วนใหญ่ต้องสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท สาขาคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น


5. พนักงานปฏิบัติการ ( Operator )
            คือ บุคลากรที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ หรือ ภารกิจประจำวันที่เกี่ยวข้องกั
คอมพิวเตอร์ เช่น กสนควบคุม การปิดเปิดเครื่อง ด฿แลการทำงานของเครื่อง การจัดเตรียมและกรอกข้อมูลเข้าสู่ระบบ การจัดตารางปฏิบัติการ ส่วนใหญ่จะปฏิบัติงานในศูนย์คอมพิวเตอร์หรือหน่วยงานด้านสารสนเทศขนาดใหญ่ เป็นต้น

6. ผู้ใช้ ( End-Uset )
            คือ บุคลากรที่เป็นผู้ใช้ ( Uset ) และเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบงานของคอมพิวเตอร์ในฐานะผู้ใช้ระบบงานหรือเป็นผู้ใช้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ตามวัตถุประสงค์ของจนเองหรือตามหน้าที่ต้องปฏิบัติในภาระกิจประจำวันตนเอง บุคลากรในกลุ่ม นี้ต้องเรียนรู้หรือฝึกฝนเกี่ยวกับวิธีการใช้ซอฟต์แวร์ที่ตนเองเกี่ยวข้องตามหน้าที่หรือตามที่ตนเองสนใจ เช่น พนักงานบัญชีต้องศึกษาวิธีการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทางด้านระบบงานบัญชี เป็นต้น