วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

โปรแกรมระบบปฏิบัติการ

ความหมายโปรแกรมระบบปฏิบัติการ
            หมายถึงโปรแกรม ที่ทำหน้าที่ในการจัดการระบบ เพื่อติดต่อระหว่าง ฮาร์ดแวร์กับกับซอฟต์แวร์ ประเภทต่าง ๆ ให้สะดวกมากขึ้น เปรียบเสมือนเป็นตัวกลาง คอยจัดการระบบคอมพิวเตอร์ ระหว่างโปรแกรมกับฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ สอบ และค้นหา ไดรเวอร์ต่าง ๆ ได้เอง มีระบบการทำงานที่เรียกว่าPlug and Play และมีหน้าจอที่สวยงาม รองรับการใช้งาน ทางด้านอินเตอร์เน็ต และระบบมัลติมีเดีย ได้เป็นอย่างดีให้ทดลองเปิดเครื่อง จะเข้าสู่ระบบปฏิบัติการ Windows โดยอัตโนมัติ ปรากฏหน้าจอดังนี้
หน้าที่ของโปรแกรมระบบปฏิบัติการ
- เป็นตัวกลางเชื่อมโยงระหว่าง ผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เกิดความสะดวก ในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ โดยการจัดเตรียมโปรแกรมระบบปฏิบัติการ ใส่ไว้ในฮาร์ดดิสก์ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อกับผู้ใช้เช่น ระบบปฏิบัติการ DOS ติดต่อกับผู้ใช้ โดยให้พิมพ์คำสั่ง ที่เครื่องหมายพร้อมรอรับคำสั่ง (Prompt Singe) ส่วนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ติดต่อกับผู้ใช้โดยใช้ภาพกราฟิกส์ เป็นต้น

- ควบคุมการทำงานฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ เช่น ควบคุมการใช้ดิสก์ไดรฟ์ ฮาร์ดดิสก์ คีย์บอร์ด และจอภาพ เป็นต้น

- ทำงานร่วมกับโปรแกรมที่อยู่ในรอม เมื่อเริ่มบูตเครื่อง OS จะทำงานต่อจากโปรแกรมประเภท Firmware (ซอฟต์แวร์ ที่บริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ บันทึกไว้ในหน่วยความจำรอม เพื่อตรวจสอบความพร้อมของฮาร์ดแวร์ในระบบ) ที่จัดเก็บไว้ในรอม จะทำงานเมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ เรามักเรียกFirmware นี้ว่า BIOS (Basic Input Output System) โดย BIOS จะทำการตรวจสอบความพร้อม ระบบฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์ จากนั้นจึงส่งหน้าที่ให้แก่ OS เพื่อให้ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์

รูปที่ 2 :รูปแสดง Firmware ที่บันทึกไว้ในรอม


- จัดตารางการใช้ทรัพยากร การเข้าใช้หน่วยประมวลผลกลาง ของคำสั่งที่ผู้ใช้สั่งงาน เช่นกำหนดวิธีการจัดคิว (Queue) ของคำสั่ง เวลาที่ OS อนุญาตให้ใช้ซีพียู ของแต่ละคำสั่ง ทั้งนี้เพื่อให้หน่วยประมวลผลกลาง ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

- จัดการข้อมูลและสารสนเทศในหน่วยความจำ ได้แก่การนำข้อมูลไปวาง (Placement)ในหน่วยความจำ การแทนที่ข้อมูลในหน่วยความจำ (Replacement) การย้ายข้อมูลในหน่วยความจำ

- จัดการระบบการจัดเก็บไฟล์ข้อมูลลงบนสื่อสำรอง (Secondary Storage Unit)

- นำโปรแกรมประเภทอื่น เข้าประมวลผลในคอมพิวเตอร์ นอกจากประมวลผลแล้วยังคอยให้บริการ เมื่อโปรแกรมต่าง ๆ ต้องการใช้ทรัพยากรของระบบคอมพิวเตอร์ ได้แก่หน่วยความจำ ฮาร์ดดิสก์ ดิสก์ไดรฟ์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น

- จัดการด้านการรักษาความปลอดภัย

- จัดการเชื่อมต่อและควบคุมอุปกรณ์รอบข้างของคอมพิวเตอร์ ได้แก่ เครื่องสแกนเนอร์ การ์ดเสียง และ โมเด็ม เป็นต้น
คุณลักษณะโปรแกรมระบบปฏิบัติการ
            พิจารณาลักษณะของโปรแกรมระบบปฏิบัติการตามลักษณะต่าง ๆ ดังนี้

1. จำนวนงานที่ทำได้
2. จำนวนผู้ใช้
3. ประเภทคอมพิวเตอร์ที่ใช้ได้


1. จำนวนงานที่ทำได้
            ถ้ามีหลายโปรแกรมทำงานพร้อมกันได้ เรียกว่า Multi - Tasking OS แต่ถ้า OS ควบคุมให้โปรแกรม ทำงานได้ครั้งละ 1 โปรแกรมเท่านั้นเราเรียกว่า Single - Tasking OS

2. จำนวนผู้ใช้
            จำนวนผู้ใช้ OS สามารควบคุมการทำงานให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานพร้อม ๆ กันได้หลายเครื่องในระบบเครื่อข่ายที่มีให้ผู้ใช้หลายคน ถ้า OS สามารถจัดการระบบที่มีผู้ใช้หลาย ๆคน พร้อมกันได้ในระบบเรียกว่า Multi - Tasking แต่ถ้า OS สามารถจัดการระบบได้เพียงเครื่องเดียวหรือมี ผู้ใช้ระบบได้เพียงครั้งละ 1 คน เรียกว่า แต่ถ้า OS Single - Tasking OS

3. ประเภทคอมพิวเตอร์ที่ใช้ได้
            ประเภทของคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ Generic Operation System ( ระบบปฏิบัติการที่ใช้กับเครื่อง คอมพิวเตอร์ได้หลายประเภท ไม่ยึดติดกับเครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทใด ) กับอีกประเภทหนึ่งคือ Proprietary Operating System ( ระบบปฏิบัติการที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้กับคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่งระบบใดหรือยี่ห้อหนึ่งยี่ห้อใดเท่านั้น ) ตัวอย่างสร้างระบบ ปฏิบัติการขึ้มาเพื่อใช้กับไมโครโปรเซสเซอร์ประเภทเดียว ไม่สามารถนำไปใช้กับคอมพิวเตอร์ประเภทอื่น ๆ ได้ เช่น ระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่อง Macintosh และเครื่องในตระกูล Apple II ซึ่งใช้ซีพียู ยี่ห้อ Motorala ไม่สามารถนำระบบปฏิบัติการนี้มาใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ทั่ว ๆ ได้
ประเภทของโปรแกรมระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการดอส
            ระบบปฏิบัติการดอส (DOS : Disk Operating System) เป็นระบบปฏิบัติการ ที่ใช้กันแพร่หลาย ในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เริ่มมีใช้ครั้งแรกบนเครื่อง IBM PC ประมาณปี ค.ศ. 1981 เรียกว่าโปรแกรม PC-DOS ต่อมาบริษัทไมโครซอฟต์ได้สร้าง MS-DOS สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย มาจนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่รุ่น (Versions) 1.0 2.0 3.0 3.30 4.0 5.0 6.0 และ 6.22 ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ ทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการ MS-DOS อยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า ๆ ที่มีทรัพยากรของระบบน้อย เช่น มีฮาร์ดดิสก์ มีหน่วยความจำน้อย ซีพียูรุ่นเก่า ๆ เป็นต้น ตัวอย่างการใช้คำสั่งดอส โดยการพิมพ์คำสั่งที่เครื่องหมายพร้อมรับคำสั่ง ในลักษณะ Command Line ซึ่ง DOS ติดต่อกับผู้ใช้ด้วยการพิมพ์คำสั่ง ไม่มีภาพกราฟิกให้ใช้ เรียกว่าทำงานในโหมดตัวอักษร (TextMode)

รูปที่ 3 : แสดงการขอดูรายชื่อไฟล์ที่มีส่วนขยาย ini ในไดรฟ์ C:\windows


            ระบบปฏิบัติการ DOS มีข้อเสียคือ ติดต่อกับผู้ใช้ไม่สะดวก เพราะผู้ใช้ต้องจำ และพิมพ์คำสั่งให้ถูกต้อง โปรแกรมจึงจะทำงาน ดังนั้นประมาณปี ค.ศ. 1985 บริษัทไมโครซอฟต์ ได้พัฒนาซอฟต์แวร์ Microsoft Windows Version 1.0 และได้พัฒนาเรื่อยมาจนถึง Version Microsoft Windows 3.11 ในปีค.ศ. 1990 ซอฟต์แวร์ดังกล่าว ทำงานในสภาพแวดล้อม ที่เป็นกราฟิกเรียกว่า Graphic User Interface(GUI) ทำหน้าที่แทนดอส ทำให้เกิดความสะดวกแก่ผู้ใช้อย่างมาก ทำให้ Microsoft Windows 3.11 ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว ในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ คุณสมบัติเด่นของ Windows 3.11 คือทำงานในกราฟิกโหมด เป็น Multi-Tasking และ Generic OS แต่ยังคงทำงานในลักษณะ Single-User OS แต่ก็ยังคงต้องอาศัยระบบปฏิบัติการดอส ทำการบูตเครื่องเพื่อเริ่มต้นระบบก่อน

ระบบปฏิบัติการวินโดวส์95
            ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 95 พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์ และวางจำหน่ายในช่วงปลายปี 1995 เป็นซอฟต์แวร ์ ที่ใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ทั่ว ๆ ไป ที่มีคุณลักษณะฮาร์ดแวร ์และหน่วยความจำ สูงกว่าระบบปฏิบัติการดอส ต้องใช้ซีพียูที่มีความเร็ว ในการประมวลผลด้วย ตัวโปรแกรมต้องใช้พื้นที่ฮาร์ดดิสก์ประมาณ 40 MB มีรูปแบบการติดต่อกับผู้ใช้ (User Interface) เป็นภาพกราฟิก ทำให้ง่าย และสะดวกต่อการใช้งานยิ่งขึ้น (Friendly User Interface)

รูปที่ 4 : แสดงโปรแกรมระบบปฏิบัติการWindows95 บรรจุในแผ่นซีดี


            วินโดวส์ 95 ติดต่อกับผู้ใช้โดยใช้ภาพกราฟิก การใช้งานควบคุมโปรแกรม โดยใช้เมาส์เป็นส่วนใหญ่ ผู้ใช้ไม่ต้องจำคำสั่ง สะดวกต่อการใช้งานมาก นอกจากนั้นยังมี DOS Prompt ให้สามารถใช้คำสั่ง ที่จำเป็นของดอสในวินโดวส์ 95 ได้อีกด้วย ความสามารถของวินโดวส์ 95 คือเตรียมโปรแกรม สำหรับการควบคุม การเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอก ไว้จำนวนมาก สามารถตรวจสอบอุปกรณ์ ที่นำมาเชื่อมต่อใหม่ได้อย่างอัตโนมัติ ทำให้ผู้ใช้สะดวกอย่างมาก ในการติดตั้งอุปกรณ์ใหม่ เข้ากับคอมพิวเตอร์ การทำงานในลักษณะนี้เรียกว่า Pnp (Plug and Play) นอกจากนี้ยังมีความสามารถ จัดการในการเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบบจุดต่อจุด (Peer-to-Peer) เพื่อใช้ทรัพยากรของระบบเครือข่ายร่วมกัน

ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 98
            วินโดวส์ 98 เป็นระบบปฏิบัติการ ที่มีความสามารถสูง พัฒนาต่อเนื่องมาจาก วินโดวส์ 95 สามารถทำงานแบบหลายงาน (Multi-Tasking OS) มีผู้ใช้ในระบบเพียงคนเดียว แบบ Single- User OS ได้ อีกทั้งยังสามารถ นำไปใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ได้ทั่วไป เรียกว่าเป็นแบบ Generic Operating System การทำงานของวินโดวส์ 98 ติดต่อกับผู้ใช้แบบ Graphic User Interface (GUI) เช่นเดียวกับวินโดวส์ 95 แต่ปรับรูปแบบให้ดูสวยงาม อัตโนมัติยิ่งขึ้น มีความสามารถ ในการเชื่อมต่อ กับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้สะดวกยิ่งขึ้น มีโปรแกรมที่เป็นเครื่องมือ สำหรับการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต มาพร้อมคือโปรแกรม Internet Explore

รูปที่ 5 : แสดงโปรแกรมระบบปฏิบัติการ Windows 98 บรรจุในแผ่นซีดี


            ข้อด้อยของโปรแกรม ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 98 คือ ต้องการทรัพยากรของระบบ ได้แก่ หน่วยประมวลผล หน่วยความจำ ฮาร์ดดิสก์ อุปกรณ์มัลติมีเดียสูง คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพต่ำ ไม่สามารถติดตั้งวินโดวส์ 98 ได้ แต่มีข้อดีคือ ผู้ใช้สามารถใช้งานได้อย่างสะดวก มากกว่าวินโดวส์ 95 มีซอฟต์แวร์ประยุกต์ต่าง ๆ สนับสนุนทำงานบนระบบวินโดวส์ 98 เป็นจำนวนมาก รองรับการใช้งาน ด้านอินเทอร์เน็ตได้เป็นอย่างดี

ระบบปฏิบัติการ Windows ME
            Windows ME (Windows Millennium Edition) เป็นระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาจาก ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 95 และ98 ซึ่งออกแบบมาให้เหมาะสม กับผู้ใช้ตามบ้าน เป็นระบบปฏิบัติการที่ทันสมัย ฉลาด และเข้าใจผู้ใช้ มากกว่าวินโดวส์ 95 และวินโดวส์ 98 หน้าตาของ Windows ME จะมีรูปลักษณ์เหมือนวินโดวส์ 98 มาก แต่มันมีคุณลักษณะพิเศษ ที่เหนือกว่าเดิมมาก เช่นสามารถสร้างระบบเครือข่าย ภายในบ้านได้ นอกจากนี้ยังมีความสามารถ ด้านอินเทอร์เน็ต และมัลติมีเดีย มากกว่าวินโดวส์ 98 อีกด้วย

รูปที่ 6 : รูปแสดงโปรแกรมระบบปฏิบัติการ Windows Me


ระบบปฏิบัติการ Windows 2000
            Windows 2000 เป็นระบบปฏิบัติการ ที่เกิดขึ้นมาเพื่อตอบสนอง ระบบเครือข่าย และเป็น OS ที่สร้างขึ้นมาเป็น GUI ตั้งแต่ต้น ดังนั้นการนำ Application เดิม ๆ ที่เคยใช้กับระบบปฏิบัติการดอส หรือโปรแกรม ที่สั่งงานฮาร์ดแวร์โดยตรง มาใช้บนระบบปฏิบัติการ วินโดวส์2000 อาจไม่ยอมทำงานให้ แต่การทำงานระบบ Multi-Tasking และ Multi-User ใช้งานได้ดีกว่าตระกูล วินโดวส์ 95 และ 98 โดยทำการควบคุม ขบวนการทำงาน ของแต่ละโปรแกรมได้ดีขึ้น

ระบบปฏิบัติการ Windows XP
            WindowsXP เป็นระบบปฏิบัติการ ที่เริ่มวางตลาดในปี ค.ศ. 2001 โดยตั้งชื่อ ให้รับกับการเปลี่ยนแปลงล่าสุดว่า Microsoft Windows XP โดยคำว่า XP ย่อมาจาก experience แปลว่ามีประสบการณ์ โดยทางบริษัทผู้สร้าง กล่าวว่าการตั้งชื่อเช่นนี้ มีเหตุผลมาจากที่ต้องการสื่อให้เห็นถึงการ ได้รับประสบการณ์ใหม่ ๆ จากการใช้ Windows XP ทุก ๆ ประมาณ 2 ปี บริษัทไมโครซอฟต์ผู้ผลิตโปรแกรมวินโดวส์ จะวางตลาดวินโดวส์รุ่นใหม่ ๆ โดยได้ใส่เทคโนโลยีที่ทันสมัย และเปลี่ยนแปลง สิ่งที่เป็นข้อด้อยของวินโดวส์รุ่นเก่า เพราะฉะนั้น ผู้ที่ต้องการเทคโนโลยีใหม่ ๆ Windows XP มีจุดเด่นและความสามารถมากมาย ไม่ว่าจะเป็นระบบใช้งานที่ดูสวยงาม และง่ายกว่าวินโดวส์รุ่นเก่า ๆ มีระบบช่วยเหลือในการปรับแต่งมากมาย เช่นระบบติดตั้งฮาร์ดแวร์ ติดตั้งเครือข่าย และสร้างผู้ใช้ในเครือข่าย การสร้างแฟกซ์ด้วยคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมรุ่นใหม่ แถมมาให้หลายโปรแกรม เช่นโปรแกรมดูหนังฟังเพลง (Windows Media Player 8)และโปรแกรมท่องโลกอินเทอร์เน็ต (Internet Explorer 6) เหมาะสำหรับนักคอมพิวเตอร์มือใหม่ และผู้ใช้งานทั่วไปอย่างยิ่ง

รูปที่ 7 : แสดงระบบปฏิบัติการ Windows XP


            Windows XP มีให้เลือกใช้สองรุ่นคือ Windows XP Home Edition ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ใช้งานตามบ้าน ที่ไม่เชื่อมต่อกับเครือข่าย และอีกรุ่นคือ Windows Xp Professional Edition ซึ่งเหมาะกับผู้ใช้งานในองค์กร ตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ เนื่องจากสามารถเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายได้ดี คนที่ใช้วินโดวส์เวอร์ชั่น XP จะต้องใช้เครื่องที่มีทรัพยากรมาก เช่น ซีพียู เพนเทียม 300 MHz ขึ้นไป แรมไม่ต่ำกว่า 128 MB ฮาร์ดดิสก์เหลือกพื้นที่ว่างมากกว่า 1.5 GB เป็นต้น ระบบปฏิบัติการ Windows NT
            ระบบปฏิบัติการ Windows NT เป็นระบบปฏิบัติการ ที่มีความสามารถในการจัดการเครือข่าย ในระยะใกล้ (LAN : Local Area Network) โดยจัดการด้านการติดต่อสื่อสาร ระหว่างคอมพิวเตอร์ และการรักษาความปลอดภัยในเครือข่าย ได้เป็นอย่างดี ในระบบเครือข่ายจะมีผู้ใช้งานหลายคน วินโดวส ์NTจะทำการจัดทรัพยากรของระบบ ให้มีการใช้ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงการติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างคอมพิวเตอร์ด้วยกัน และรองรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ได้เป็นอย่างดี

รูปที่ 8 : แสดงระบบปฏิบัติการ Windows NT


ระบบปฏิบัติการปาล์ม
            ระบบปฏิบัติการปาล์ม (Palm OS) มีจุดกำเนิด บนเครื่องคอมพิวเตอร์มือถือ ที่มีความต้องการทรัพยากรต่ำ มีความสามารถไม่สูงมากนัก แต่มีความสะดวกในการใช้งาน คล่องตัว และสามารถติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องได้ มีโปรแกรมใช้งานแบบเบ็ดเสร็จในตัว รองรับการ Plug in Module ต่างๆได้พอสมควร

รูปที่ 9 : แสดงระบบปฏิบัติการ Palm


ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์
            ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (Unix) เป็นระบบปฏิบัติการ ที่เคยพัฒนาในห้องแล็บ Bell สร้างขึ้นเพื่อใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ และเมนเฟรม ใช้ในการควบคุมการทำงาน ของศูนย์คอมพิวเตอร์ ที่มีการเชื่อมลูกข่ายคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงเป็นจำนวนมาก ดังนั้นระบบยูนิกซ์ จึงมักใช้ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ และมีการเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ต่อมาได้มีการพัฒนา ให้สามารถนำยูนิกซ์ มาใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ได้ ปัจจุบันระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจากสองค่ายคือ AT&T และ BSD และคาดว่ายูนิกซ์ จะเป็นที่นิยมต่อไป

รูปที่ 10 : แสดงการใช้งานระบบปฏิบัติการ Unix


            ลักษณะการทำงาน ยูนิกซ์ ติดต่อกับผู้ใช้ได้ โดยการพิมพ์คำสั่งลงบนเครื่องหมาย Prompt Sign แต่ในปัจจุบัน สามารถจำลองจอภาพการทำงาน ของยูนิกซ์ ให้อยู่ในสภาพแวดล้อมของวินโดวส์ได้แล้ว ทำให้สามารถทำงาน ติดต่อกับผู้ใช้ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น คุณสมบัติพิเศษของยูนิกซ ์คือ เรื่องของการรักษาความปลอดภัย ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมทั้งมีความสามารถสูง ในด้านการติดต่อสื่อสารระยะไกล ระหว่างคอมพิวเตอร์ ทำให้ยูนิกซ์ ถูกนำมาใช้เป็นระบบปฏิบัติการ สำหรับเครือข่ายของโลกที่เรียกว่า อินเทอร์เน็ต ดังนั้นก่อนที่ผู้ใช้จะเข้าสู่ระบบยูนิกซ์ ได้จะต้องทำการพิมพ์ Login Name : หรือชื่อผู้ใช้ (User Name) และรหัสผ่าน (Password) เมื่อเข้าสู่ระบบ โดยผู้บริหารระบบจะเป็นผู้กำหนดให้ UserName และ Password แก่ผู้ใช้แต่ละคน เพื่อควบคุมการใช้งาน และการรักษาความปลอดภัย

ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์
            ลีนุกซ์ เป็นระบบปฏิบัติการ ที่มีความสามารถสูง ในการบริหารระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีลักษณะคล้ายการจำลองการทำงาน มาจากยูนิกซ์ แต่จะมีความยืดหยุ่นในการทำงานมากกว่า เพราะว่าลีนุกซ์เป็น ระบบปฏิบัติการ ประเภทแจกฟรี (Open Source) ผู้นำไปใช้งาน สามารถที่จะพัฒนา และปรับปรุงในส่วนที่เกิดปัญหา ระหว่างใช้งานได้ทันที อีกทั้งยังสามารถปรับให้เข้ากับฮาร์ดแวร์ที่ใช้ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพของระบบมากที่สุด และยังมีการเพิ่มสมรรถนะ (Update) ในทุก ๆ ส่วนของซอฟต์แวร์อยู่ตลอดเวลา มีบริษัทเอกชน และกลุ่มผู้สนใจร่วมมือกันพัฒนาแอปปลิเคชั่น ที่ใช้งานบนลีนุกซ์ เพื่อทำให้การทำงาน มีประสิทธิภาพมากที่สุด

รูปที่ 11 : แสดงระบบปฏิบัติการลีนุกซ์


            การสร้างเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรืออินเทอร์เน็ตเซิร์ฟเวอร์ สามารถใช้ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ ติดตั้งลงในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ที่ใช้งานกันทั่วไป สาเหตุเพราะว่าลีนุกซ์ ใช้ทรัพยากรน้อย และมีเสถียรภาพในการดูแลระบบได้ดี มีปัญหาระหว่างการใช้งานน้อย ถ้าผู้ดูแลระบบ สามารถที่จะควบคุมดูแลการทำงาน และมีการบำรุงรักษาตามหลักเกณฑ์ที่ถูกต้องได้

ระบบปฏิบัติการ Windows CE
            Windows CE เป็นระบบปฏิบัติการขนาดเล็กหรือรุ่นย่อส่วน สำหรับใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ที่สามารถพกพาได้ แต่ยังคงมีรูปร่างหน้าตาคล้ายวินโดวส์รุ่นใหญ่ ๆ เหมือนกัน เพื่อตอบสนองการใช้งานที่คุ้นเคยกับรุ่นใหญ่ จึงนิยมใช้ในเครือ Pocket PC ที่สามารถถ่ายโอนงาน จากเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ใช้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ได้ดีพอสมควร

ระบบปฏิบัติการ Mac
            Mac เป็นระบบปฏิบัติการ ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ตระกูล Macintosh ติดต่อกับผู้ใช้ด้วยระบบ Graphic User Interface ตั้งแต่เริ่มต้นสามารถทำงานกราฟิกได้ ในช่วงเวลาที่เครื่อง IBM PC ยังเป็นโหมดตัวอักษร ดังนั้นเครื่องตระกูลนี้ ยังเป็นที่นิยมในกลุ่มงานพิมพ์ ตามโรงพิมพ์ต่าง ๆ

ระบบปฏิบัติการ Firmware
            Firmware เป็นระบบปฏิบัติการ ที่ใช้กับฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์เฉพาะงาน โดยส่วนใหญ่มักจะทำเป็นเครื่องที่สำเร็จมาแล้ว เช่น Router Modem Printer Firmware จะถูกบรรจุอยู่ในหน่วยความจำประเภทรอม

รูปที่ 1 : แสดงโปรแกรมระบบปฏิบัติการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น